คลิกที่รูป เพื่อเอาโค้ดรูปนี้ไปแปะ

วันศุกร์ที่ 1 มีนาคม พ.ศ. 2556

สรุปงานวิจัย

สรุปงานวิจัย 

สรุปงานวิจัย 3เรื่อง ที่ใส่ในบล็อก ที่มีความสำคัญกับคณิตศาสตร์

 เรื่อง 1:ทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัยด้วยกิจกรรมเกมการศึกษาลอตโต


 เรื่อง 2: ทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดกิจกรรมศิลปสร้างสรรค์ด้วยขนมอบ


 เรื่องที่ 3: การพัฒนาทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัยโดยใช้รูปแบบกิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์เพื่อการเรียนรู้










งานวิจัยเรื่อง : ทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัยด้วยกิจกรรมเกมการศึกษาลอตโต

การศึกษาระดับ :  บัณฑิต
มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ

ผู้วิจัย: วรรณี วัจนสวัสดิ์


บทนำ


ความเป็นมาและความสำคัญ
เกมการศึกษาเป็นกิจกรรมการสอนชนิดหนึ่งที่สนับสนุนทฤษฎีการเรียนรู้ของเด็ก คือ จัดให้เด็กได้เรียนรู้จากการเล่นสิ่งที่เป็นรูปธรรม เกมการศึกษาจึงเป็นกิจกรรมการเล่นที่ช่วยฝึกทักษะและช่วยให้เด็กเกิดความคิดรวบยอดเกี่ยวกับสิ่งที่เรียน นอกจากนี้ยังช่วยฝึกการแก้ปัญหา การคิดหาเหตุผลการสังเกตเปรียบเทียบ การจำแนก การจัดหมวดหมู่ อันเป็นทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์

ความมุ่งหมายของการวิจัย
ในการวิจัยครั้งนี้ผู้วิจัยได้ตั้งความมุ่งหมายไว้ เพื่อเปรียบเทียบทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์
ของเด็กปฐมวัยก่อนและหลังที่ได้รับกิจกรรมเกมการศึกษาลอตโต

ความสำคัญของการวิจัย
การวิจัยครั้งนี้ทำให้ทราบถึงทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัยที่ได้รับกิจกรรม
เกมการศึกษาลอตโต เพื่อเป็นแนวทางสำหรับครู ผู้ปกครอง และผู้ที่เกี่ยวข้องในการส่งเสริมและ
พัฒนาทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ รวมทั้งการจัดกิจกรรมการเล่นให้เหมาะสมยิ่งขึ้น

ขอบเขตของการวิจัย
     ตัวแปรที่ศึกษา
1. ตัวแปรต้น กิจกรรมเกมการศึกษาลอตโต
2. ตัวแปรตาม ทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์

นิยามศัพท์เฉพาะ
1. เด็กปฐมวัย หมายถึง เด็กที่มีอายุระหว่าง 4–5 ปี ที่กำลังศึกษาอยู่ในชั้นอนุบาลปีที่ 2ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2551 ส่วนการศึกษาอนุบาลโรงเรียนไผทอุดมศึกษา กรุงเทพมหานครสำนักบริหารงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน เขตพื้นที่การศึกษาที่2
2. ทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ หมายถึง ความสามารถของเด็กปฐมวัยในการสังเกตเปรียบเทียบ สี ขนาด จำแนกในรูปร่าง ขนาด การจัดหมวดหมู่ การเรียงลำดับเหตุการณ์ก่อนหลังและการรู้ค่าจำนวน


กรอบแนวคิดในการวิจัย
        กิจกรรม เกมการศึกษาลอตโต :     ทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์

                                   1. การสังเกตเปรียบเทียบ
                                   2. การจัดหมวดหมู่
                                   3. การเรียงลำดับ
                                   4. การรู้ค่าจำนวน

สมมติฐานในการวิจัย
เด็กปฐมวัยที่ได้รับกิจกรรมเกมการศึกษาลอตโตมีทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์สูงกว่าก่อนการทดลอง

 บทที่ 3




วิธีการดำเนินงาน
      การกำหนดประชากรและกลุ่มตัวอย่าง
ประชากร
ประชากรที่ใช้ในการสุ่มตัวอย่างครั้งนี้เป็นนักเรียนชายและหญิง อายุ 4-5 ปี ซึ่งกำลังศึกษาอยู่ชั้นอนุบาลปีที่ 2 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2551 โรงเรียนไผทอุดมศึกษา สังกัดสำนักงานบริหารงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน เขตพื้นที่การศึกษา 2 กรุงเทพมหานคร จำนวน243 คน

การเลือกกลุ่มตัวอย่าง
กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ เป็นนักเรียนชายหญิง อายุ 4-5 ปี ที่กำลังศึกษาอยู่ในชั้นอนุบาลปีที่ 2 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2551 ส่วนการศึกษาอนุบาลโรงเรียนไผทอุดมศึกษากรุงเทพมหานคร สังกัดสำนักงานบริหารงานคณะกรรมการส่งเสริม การศึกษาเอกชน เขตพื้นที่การศึกษา 2จำนวน 30 คน โดยมีขั้นตอนคัดเลือกกลุ่มตัวอย่างด้วยวิธีการสุ่มอย่างง่าย (Simpie Random Sampling)มา 1 ห้องเรียนจากจำนวนทั้งหมด 8 ห้องเรียน

เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย
1. กิจกรรมเกมการศึกษาลอตโต จำนวน 60 กิจกรรม
2. แบบทดสอบวัดความสามารถทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัยจำนวน 40 ข้อ

วิธีดำเนินการศึกษาค้นคว้า
      การสร้างเกมการศึกษาลอตโต
1. ศึกษาข้อมูลเบื้องต้น ประโยชน์และประเภทในการสร้างเกมการศึกษาลอตโต เช่น ทฤษฎีพัฒนาการและการเรียนรู้ของเด็กปฐมวัย เกมและการเล่นสำหรับเด็กปฐมวัย องค์ประกอบของทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัย และหลักสูตรระดับปฐมวัย
2. สร้างเกมการศึกษาลอตโตจำนวน 60 เกมโดยกำหนด ชื่อเกม ระยะเวลา จุดประสงค์และการดำเนิกิจกรรม
3. นำเกมการศึกษาลอตโตที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นให้ผู้เชี่ยวชาญตรวจสอบความสอดคล้องของกิจกรรมเกการศึกษาลอตโตกับทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์
4. ปรับปรุงเกมการศึกษาลอตโตตามคำแนะนำของผู้เชี่ยวชาญ ผลการพิจารณาของผู้เชี่ยวชาญได้ลงความเห็นตรงกัน คือ ปรับภาษาของคำถามบางเกมให้เหมาะสมยิ่งขึ้น ปรับรูปภาพตัวเลือกให้มีความชัดเจน
5. นำเกมการศึกษาลอตโตที่ปรับปรุงแก้ไขตามคำแนะนำของผู้เชี่ยวชาญไปทดลองใช้จริงกับเด็กนักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 2 จำนวน 30 คนที่เลือกมาโดยวิธีสุ่มอย่างง่าย แต่ไม่ใช่กลุ่มตัวอย่างเพื่อปรับปรุงเกมการศึกษาลอตโตให้เหมาะสมกับระยะเวลาที่กำหนดไว้
6. นำเกมการศึกษาลอตโตที่ปรับปรุงเหมาะสมแล้วไปจัดทำเป็นฉบับสมบูรณ์ เพื่อนำไปใช้กับกลุ่มตัวอย่างในการทดลอง ซึงมีจำนวนทั้งหมด 45 เกม

วิธีดำเนินการทดลอง
1. สร้างความคุ้นเคยกับกลุ่มตัวอย่างเป็นเวลา 1 สัปดาห์
2. นำแบบทดสอบวัดทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นมาทดสอบก่อนทดลอง
กับกลุ่มตัวอย่าง
3. ดำเนินการทดลองกับกลุ่มตัวอย่าง โดยการใช้เกมการศึกษาลอตโต เป็นเวลา 8 สัปดาห์
สัปดาห์ละ 5 วัน วันละ 30 นาที
4. ในการดำเนินการทดลองในแต่ละวัน เด็กจะแบ่งกลุ่มออกเป็น 5 กลุ่มๆ ละ 6 คนเด็ก
สามารถเลือกหยิบเกมการศึกษาลอตโตจากมุมเกมการศึกษามาเล่นด้วยตนเอง เมื่อเล่นเสร็จแล้วเด็ก
ต้องนำเกมไปเก็บไว้ที่มุมเกมตามเดิมให้เรียบร้อยแล้วจึงหยิบเกมใหม่ออกมาเล่นในการจัดเกม
การศึกษาลอตโตจะมีเกมใหม่เปลี่ยนเข้ามาทุกวันๆ ละ 1 เกม
5. หลังจากทำการทดลองด้วยกิจกรรมเกมการศึกษาลอตโตแล้ว ได้จัดให้มีการทดสอบด้วย
แบบทดสอบวัดทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์อีกครั้ง

การวิเคราะห์ข้อมูล
1. หาค่าสถิติพื้นฐานของคะแนนจากแบบทดสอบวัดทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ก่อน
และหลังการทดลอง โดยนำข้อมูลไปหาค่าเฉลี่ย (Mean) และค่าความเบี่ยงเบนมาตรฐาน
2. เปรียบเทียบทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ก่อนและหลังการจัดกิจกรรมโดยใช้ t–test for
Dependent Samples (ล้วน สายยศ; และอังคณา สายยศ. 2538: 104)

สรุปผลการวิจัย
1. ทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัยหลังการทำกิจกรรมเกมการศึกษาลอตโตโดยรวมและรายด้านคือ ด้านการสังเกตเปรียบเทียบ ด้านการจัดหมวดหมู่ ด้านการเรียงลำดับด้านการรู้ค่าจำนวน สูงขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
2. เด็กปฐมวัยมีทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์หลังการทำกิจกรรมเกมการศึกษาลอตโตทั้งโดยรวม และรายด้าน มีการเปลี่ยนแปลงทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์สูงขึ้น ในรายด้านทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ด้านการจัดหมวดหมู่เป็นอันดับแรก รองลงมาคือ ด้านการสังเกตเปรียบเทียบด้านการเรียงลำดับ และด้านการรู้ค่าจำนวนตามลำดับ

ข้อเสนอแนะ
1. ครูควรนำ กิจกรรมเกมการศึกษาลอตโตมาใช้ในการพัฒนาทักษะพื้นฐานทาง
คณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัยได้โดยพิจารณาความยากง่ายเหมาะสมกับความสามารถของเด็ก
2. ครูควรสร้างบรรยากาศที่เต็มไปด้วยการยอมรับเป็นกันเอง พร้อมทั้งกระตุ้นและเปิด
โอกาสให้เด็กเลือกเล่นอย่างอิสระ ในระหว่างทำกิจกรรมซึ่งจะส่งผลให้เด็กได้มีพัฒนาการจากการเล่น
เกมอย่างเต็มศักยภาพ และในการแนะนำวิธีการเล่นเกมการศึกษาลอตโต ครูควรมั่นใจว่าเด็กเข้าใจ
วิธีการเล่นเกมแต่ละเกมเป็นอย่างดีหากพบว่าเด็กยังไม่เข้าใจหรือมีปัญหา ครูควรเข้าไปมีส่วนร่วมใน
การเล่นกับเด็ก
3. เมื่อสิ้นสุดกิจกรรมควรนำเกมการศึกษาลอตโตจัดไว้ในมุมเพื่อให้เด็กได้เล่นทุกโอกาสที่
ต้องการ เพื่อให้เด็กได้ฝึกฝนทักษะอย่างต่อเนื่อง




















งานวิจัยเรื่อง :  ทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดกิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์ด้วยขนมอบ

การศึกษาระดับ : บัณฑิมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ

ผู้วิจัย :   พิจิตรา เกษประดิษฐ์

บทนำ


ความเป็นมาและความสำคัญ
การจัดกิจกรรมการใช้ขนมอบ ทำกิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์ สามารถทำให้เด็กเกิดการเรียนรู้ ตลอดจนมีพัฒนาการด้านสติปัญญาในด้านทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ จากการใช้ขนมอบทำกิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์จะเป็นแนวทางสำหรับครู ผู้บริหาร ตลอดจนผู้เกี่ยวข้องกับการจัดการศึกษาสำหรับเด็กปฐมวัยในการจัด และพัฒนารูปแบบของกิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์ และพัฒนาทักษะทางคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัยต่อไป

 ความมุ่งหมายของการวิจัย เพื่อเปรียบเทียบทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัย ก่อนและหลังการจัดกิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์ด้วยขนมอบ

ความสำคัญของการวิจัยผลการวิจัยครั้งนี้ จะเป็นข้อมูลประกอบการตัดสินใจ สำหรับครูและบุคลากรที่เกี่ยวข้องกับเด็กปฐมวัย ในการนำกิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์ด้วยขนมอบ ไปใช้เพื่อส่งเสริมทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัยอีกวิธีหนึ่ง



ขอบเขตของงานวิจัย           
   ตัวแปรที่ศึกษาตัวแปรต้น    คือ  การจัดกิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์ด้วยขนมอบตัวแปรตาม คือ ทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ 

นิยามศัพท์เฉพาะ  1.เด็กปฐมวัย หมายถึง เด็กนักเรียนชาย-หญิง ที่มีอายุระหว่าง 3 – 4 ปี ซึ่งกำลังศึกษาอยู่ในชั้นอนุบาลปีที่ในชั้นอนุบาลปีที่ในชั้นอนุบาลปีที่ในชั้นอนุบาลปีที่ 1 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2551 ของโรงเรียนอนุบาลกุ๊กไก่ สังกัด สำนักการศึกษาเอกชน กรุงเทพมหานคร2. กิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์ด้วยขนมอบ หมายถึง    กิจกรรมที่เด็กที่เด็กได้ใช้ประสาทสัมผัสในการทำกิจกรรมตกแต่งบนขนมอบ คือ ขนมปัง คุกกี้ พาย เค้ก ซึ่งขนมอบทั้ง 4ชนิดนี้ มีรูปร่างรูปทรง เด็กจะได้มีโอกาสเลือกและลงมือปฏิบัติ โดยใช้วัสดุอื่นๆ เป็นส่วนประกอบ เช่น ครีมแต่งหน้าเค้กน้ำตาลไอซิ่ง แยม ช็อกโกแลต และวัตถุดิบโรยหน้าต่างๆ มาตกแต่งด้วยวิธี การโรยหน้า ทา วาด เขียนลงบนขนมอบชนิดต่างๆ ตามความคิดและจินตนาการ


กรอบแนวคิดการวิจัย

การจัดกิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์ด้วยขนมอบ    :       ทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์                                                                                                                                                                                                                                                                        

                                                                                       1. การสังเกตและจำแนก

                                                                                       2. การเปรียบเทียบ
                                                                                      
                                                                                       3. การจัดหมวดหมู่


สมมติฐานของการวิจัยเด็กปฐมวัยที่ทำกิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์ด้วยขนมอบ มีทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์สูงขึ้น                                                                                                                                                           

 บทที่3

วิธีการดำเนินงาน การกำหนดประชากรและกลุ่มตัวอย่าง ประชากรกลุ่มตัวอย่างกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ เป็นเด็กปฐมวัยชาย-หญิง ที่มีอายุ 3 – 4 ปี ซึ่งกำลังศึกษาอยู่ในชั้นอนุบาลปีที่ 1/3 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2551 ของโรงเรียนอนุบาลกุ๊กไก่ สังกัดสำนักการศึกษาเอกชน กรุงเทพมหานคร โดยการสุ่มกลุ่มตัวอย่าง ด้วยการจับฉลากมา 1 ห้องเรียนจากจำนวน 4 ห้องเรียน จำนวน 20 คนเครื่อง

มือที่ใช้ในการวิจัย  1. แผนการจัดกิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์ด้วยขนมอบ  2. แบบทดสอบทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์


การเก็บรวบรวมข้อมูล    
การวิจัยในครั้งนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลอง (Quasi Experimental Research) ผู้วิจัยได้ดำเนินการ
ทดลองตามแบบแผนการวิจัย One-Group Pretest Posttest Design (ล้วน สายยศ ; และ อังคณาสายยศ. 2538: 249)

การดำเนินการทดลอง      1. ขอความร่วมมือกับผู้บริหารโรงเรียนในการทำวิจัย      2. ทำการทดสอบก่อนการทดลองกับนักเรียนกลุ่มทดลอง ด้วยแบบทดสอบทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์      3. ดำเนินการทดลองกับกลุ่มทดลอง โดยให้นักเรียนทำกิจกรรมศิลปสร้างสรรค์ด้วยขนมอบกลุ่มละ 5 คน จำนวน 4 กลุ่ม เป็นเวลา 8 สัปดาห์ สัปดาห์ละ 3 วัน วันละ 20 นาที ระหว่างเวลา10.00 – 10.20 . รวมทั้งสิ้น 24 ครั้ง จำนวน 24 กิจกรรม

การวิเคราะห์ข้อมูล   1. หาสถิติพื้นฐาน ได้แก่ ค่าคะแนนเฉลี่ย และค่าความเบี่ยงเบนมาตรฐาน2. เปรียบเทียบความแตกต่างของคะแนนการทดสอบทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ก่อนและหลังการทดลอง โดยใช้สูตร t-test for Dependent Samples (ล้วน สายยศ ; และ อังคณา สายยศ.
2538: 104)

สรุปผลการวิจัยทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ทั้งโดยรวมและรายด้านของเด็กปฐมวัยหลังการทดลองสูงกว่าก่อนการทดลองทำกิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์ด้วยขนมอบอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01

ข้อเสนอแนะ  1. ครูควรมีบทบาทในการดูแลให้ความช่วยเหลือ ให้คำแนะนำเมื่อเด็กต้องการ กระตุ้นให้เด็กโดยให้เด็กได้ทดลองทำตามความคิดของตนเอง ให้แรงเสริม กล่าวคำชมเชยในผลงานของเด็ก ทำให้เด็กมีความมั่นใจ และตั้งใจในการทำกิจกรรม2. ในการเตรียมกิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์ด้วยขนมอบนั้น ควรเตรียมครีมใส่กรวยเมื่อใกล้จะทำกิจกรรม เพราะว่า ถ้าใส่ทิ้งไว้นานจะทำให้น้ำมันในครีมละลายซึมออกมานอกกรวย ทำให้เด็กไม่กล้าหยิบกรวยและกรวยที่ใส่ครีมแต่งหน้าเค้กควรมีขนาดที่พอเหมาะกับมือของเด็ก เพื่อสะดวกกับเด็กในการบีบครีมทำกิจกรรมประชากรที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ เป็นเด็กปฐมวัย ชายหญิง ที่มีอายุ 3 – 4 ปี ซึ่งกำลังศึกษาอยู่ในชั้นอนุบาลปีที่ 1 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2551 ของโรงเรียนอนุบาลกุ๊กไก่ สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาเอกชน เขตคลองเตย กรุงเทพมหานคร ซึ่งมีจำนวน 4 ห้องเรียน จำนวน 81 คน3. ก่อนที่จะทำกิจกรรมครูควรแนะนำให้เด็กรักษาความสะอาด ถ้าครีมแต่งหน้าเค้กเลอะมือหรือเสื้อผ้า ควรใช้กระดาษทิชชูเช็ดออกก่อนแล้วนำไปล้างด้วยน้ำสบู่










งานวิจัยเรื่อง
: การพัฒนาทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัยโดยใช้รูปแบบกิจกรรมศิลปะ
สร้างสรรค์เพื่อการเรียนรู้การศึกษาระดับ:   บัณฑิตมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ

ผู้วิจัย:  คมขวัญ อ่อนบึงพร้าว 


บทนำ

ความเป็นมาและความสำคัญ
การศึกษารูปแบบศิลปะสร้างสรรค์เพื่อการเรียนรู้ พบว่าศิลปะเปลี่ยนแบบ ศิลปะบูรณาการ และศิลปะค้นหา สามารถนำมาใช้ในการพัฒนาทักษะคณิตศาสตร์ได้ การใช้ศิลปะ เช่นภาพวาดหรือผลผลิตจากงานศิลปะมาให้เด็กค้นคว้าค้นหาความรู้จากงานศิลปะ ที่นำมากระตุ้นให้เกิดการเรียนรู้ ซึ่งแต่ละแบบของศิลปะเด็กจะต้องใช้พื้นฐานทักษะทางคณิตศาสตร์ไปด้วยเสมอ เช่นการเปรียบเทียบ การจำแนก การสังเกต การบอกตำแหน่ง การนับ การรู้ค่ารู้จำนวน หรือแม้แต่การเพิ่มการลดจำนวน ดังนั้นเห็นว่าควรนำไปทดลองใช้เพื่อศึกษาดูว่าเด็กสามารถพัฒนาทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัยใช้ได้จริงหรือไม่และผลการวิจัยที่ได้รับ การจัดกิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์เพื่อการเรียนรู้เป็นอย่างไร จะเป็นแนวทางของการใช้นวัตกรรมเพื่อการจัดการเรียนการสอนของเด็กปฐมวัยมาใช้ ในการพัฒนาทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัยหรืออาจนำไปประยุกต์ในกับการพัฒนาทักษะอื่นๆได้

ความมุ่งหมายของการวิจัยเพื่อเปรียบเทียบทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัยก่อนและหลังได้รับการจัดกิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์เพื่อการเรียนรู้

ความสำคัญของการวิจัยการวิจัยครั้งนี้เป็นแนวทางของการใช้นวัตกรรม การเรียนการสอนด้วยกระบวนวิธีของศิลปะรูปแบบต่างๆ มาประยุกต์เพื่อพัฒนาทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ให้กับเด็กปฐมวัยซึ่งผลการวิจัยจะเป็นแนวทางให้กับครู และผู้ที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาเด็ก ได้พัฒนารูปแบบการจัดประสบการณ์ใหม่ๆ ให้กับเด็กปฐมวัย เพื่อส่งเสริมพัฒนาการของเด็กปฐมวัยและเกิดความหลากหลายในวิชาการศึกษาสำหรับครูมากขึ้น 


ขอบเขตของงานวิจัยตัวแปรที่ศึกษา
1. ตัวแปรอิสระ ได้แก่ รูปแบบกิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์เพื่อการเรียนรู้

2. ตัวแปรตาม ได้แก่ ทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ 5 ด้าน


นิยามศัพท์เฉพาะ
 1. เด็กปฐมวัย หมายถึง เด็กที่มีอายุระหว่าง 4–5 ปี ที่กำลังศึกษาอยู่ในชั้นอนุบาลปีที่ 2ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2551 ส่วนการศึกษาอนุบาลโรงเรียนไผทอุดมศึกษา กรุงเทพมหานครสำนักบริหารงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน เขตพื้นที่การศึกษาที่2

2. ทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ หมายถึง ความสามารถของเด็กปฐมวัยในการสังเกตเปรียบเทียบ สี ขนาด จำแนกในรูปร่าง ขนาด การจัดหมวดหมู่ การเรียงลำดับเหตุการณ์ก่อนหลังและการรู้ค่าจำนวน

สมมติฐานของการวิจัยเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดรูปแบบกิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์เพื่อการเรียนรู้ มีการพัฒนาทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ก่อนและหลังการทดลองแตกต่างกัน 




บทที่3

วิธีการดำเนินงาน
     
  การกำหนดประชากรและกลุ่มตัวอย่างประชากรประชากรที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ เป็นนักเรียนชายหญิง อายุระหว่าง 5 – 6 ปี ซึ่งกำลังศึกษาอยู่ชั้นอนุบาลปีที  3 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2549 โรงเรียนสาธิตอนุบาลลอออุทิศ กรุงเทพมหานคร สังกัดมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต จำนวน 10 ห้องเรียน

กลุ่มตัวอย่าง   กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ คือ เป็นนักเรียนชายหญิง อายุระหว่าง 5 – 6 ปีซึ่งกำลังศึกษาอยู่ในชั้นอนุบาลปีที่ 3 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2549 โรงเรียนสาธิตอนุบาลละอออุทิศ กรุงเทพมหานคร สังกัดมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต ซึ่งได้จากการจับฉลากมา 1 ห้องเรียนและได้รับการประเมินทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์โดยใช้แบบทดสอบที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น โดยคัดเลือกเด็กที่มีคะแนะทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ใน 15 อันดับสุดท้ายกำหนดเป็นกลุ่มทดลอง  เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย1. แผนการจัดกิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์เพื่อการเรียนรู้2.แบบทดสอบทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์การสร้างแผนการจัดกิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์เพื่อการเรียนรู้

การเก็บรวบรวมข้อมูล1. ผู้วิจัยทำการทดสอบทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัย (Pretest)ก่อนการทดลอง2. ผู้วิจัยดำเนินการทดลองในกิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์เพื่อการเรียนรู้ ใช้เวลาทดลองครบ 8 สัปดาห์ ผู้วิจัยทำการทดสอบทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัย (Pretest) หลังเสร็จสิ้นการทดลอง เพื่อเปรียบเทียบการพัฒนาทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัย การ

วิเคราะห์ข้อมูล1.หาค่าเฉลี่ยและค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน2. เปรียบเทียบความแตกต่างของคะแนนเฉลี่ยก่อน และหลังการจัดกิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์เพื่อการเรียนรู้ เพื่อศึกษาพัฒนาการทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัยโดยใช้ค่าแจกแจง แบบ Dependent Samples


สรุปผลการวิจัย1. เด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดกิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์มีคะแนนเฉลี่ย ทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ โดยรวม 5 ทักษะและจำแนกรายทักษะ คือ ทักษะการบอกตำแหน่ง ทักษะการจำแนก ทักษะการนับ 1 – 30 ทักษะการรู้ค่ารู้จำนวน และทักษะการเพิ่มลด ภายในจำนวน1 – 10 อยู่ในระดับดี แตกต่างจากก่อนทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 และมีค่าเฉลี่ยสูงขึ้น2. เด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดกิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์ มีพัฒนาการทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ในทุกทักษะสูงขึ้นกว่าก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
 

ข้อเสนอแนะ  1. ควรมีการศึกษาการนำกิจกรรมรูปแบบศิลปะสร้างสรรค์เพื่อการเรียนรู้ ในรูปแบบอื่นมาจัดกิจกรรมให้เด็กเพื่อพัฒนาทักษะต่าง ๆ วิทยาศาสตร์ สังคม ภาษาไทย ฯลฯ ที่แตกต่างกันไปตามรูปแบบการเรียนรู้ เช่น ศิลปะย้ำ ศิลปะปรับภาพ ศิลปะถ่ายโยง ศิลปะเปลี่ยนแบบศิลปะบูรณาการ และศิลปะค้นหา เพื่อศึกษาความแตกต่าง2. ควรมีการนำรูปแบบกิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์ มาจัดกิจกรรมเพื่อพัฒนาความคิดสร้างสรรค์ของเด็กหญิงและเด็กชาย เพื่อหาความแตกต่างในการใช้รูปแบบกิจกรรมศิลปะแบบเดียวกัน3. ควรมีการศึกษาความแตกต่างในการทำกิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์ระหว่างสื่อของจริงและสื่อจำลอง และเปรียบเทียบความภูมิใจของเด็กในตนเองของเด็กปฐมวัยในการทำศิลปะเพื่อการเรียนรู้4. ควรศึกษาเปรียบเทียบระหว่างรูปแบบศิลปะสร้างสรรค์เพื่อการเรียนรู้แต่ละรูปแบบว่าแบบใดพัฒนาทักษะได้มากกว่ากัน5. ควรศึกษาเปรียบเทียบการจัดกิจกรรมรูปแบบศิลปะสร้างสรรค์เพื่อการเรียนรู้แบบกลุ่ม และรายบุคคลว่ามีความแตกต่างกันอย่างไร 




 
   

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น