คลิกที่รูป เพื่อเอาโค้ดรูปนี้ไปแปะ

วันเสาร์ที่ 24 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

การเข้าเรียน ครั้งที่4

การเข้าเรียน ครั้งที่4
วันศุกร์ ที่23 เดือน พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

       การเรียนการสอน
ไม่มีการเรียนการสอน เนื่องจาก   มีกีฬาสีคณะ ศึกษาศาสตร์


 มีกีฬาสี  คณะศึกษาศาสตร์

























           

วันศุกร์ที่ 16 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

การเข้าเรียนครั้งที่ 3

การเข้าเรียน ครั้งที่3
วันศุกร์ ที่ 16 เดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2555


การเรียน การสอน

-อาจารย์ ให้นับจับกลุ่ม3คน แล้วอาจารย์ให้สรุปหัวข้อที่อาจารย์ให้ไปทำการบ้าน ให้สุปมาเป็นหัวข้อหัวข้อ ให้3คนในกลุ้มช่วยกันคิด แล้วสรุปรวมกัน แล้วเขียน ชื่อหนังสือ แล้วผู้แต่ง

อาจารย์ จินตนา  สุขสำราญ



บรรยาศในห้องเรียน



จับกลุ่มทำงาน







นั่งทำงานค่ะ



นื้อหาที่กลุ่มสรุปได้ มีดังนี้


1.ความหมาของคณิตศาสตร์  
   
        คือ ความรู้เบื้องต้นที่น่าจำนำไปสู่การเรียนการสอนคณิตศาสตร์ ซึ่งจะมีประสบการณ์ต่างๆ เช่นการสังเกต กาจำแนก การเปรียบเทียบ โครงสร้าง การเรียงลำดับ การบอกตำแหน่ง กานับจำนวน การวัดเพื่อเห็นพื้นฐานก่อนที่จะเรียน


ผู้แต่ง 

วรินธร สิริเตชะ
ราตรี รุ่งทวีชัย
วิจิตรา อุปการนิตติเกษตร










2.จุดประสงค์การสอนคณิตศาสตร์
   
          - ให้มีความมั่นใจในการเรียนคณิตศาสตร์
          - พัฒนาความคิดรวบยอด ทางคณิตศาสตร์ได้เหมาะสม
          - ได้เรียนรู้ประสบการณ์ตรง จากลงมือปฏิบัติจริง กับอุปกรณ์
          - ได้พัมนาทักษะกระบวนการคิด ในการแก้ไขปัญญาทางคณิตศาสตร์
          - ได้พัฒนาทักษะในการเชื่อมโยงความิด และการสื่อสารให้ผู้อื่นเข้าใจได้งายมากยิ่งขึ้น
          - ได้พัฒนาทักษะในการคิดคำนวน
          - รู้จักคิดอย่างมีเหตุผล และแสดงความคิดออกมาอย่างมีระบบชัดเจน รัดกุม

ผู้แต่ง

วรินธร สิริเตชะ
ราตรี รุ่งทวีชัย
หนังสือการสอนคณิตศาสตร์





3.กาจัดการเรียนการสอน และทฤษฏีการการจัดประสบการณ์การสอนคณิตศาสตร์
    
             * ทฤษฏีที่นำมาใช้มากที่สุด ในการสอนคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย คือทฤษฏีการใช้ประสาทสัมพันธ์ sensonmoter  คือของเพียเจท์ ทฤษฏีของเพียเจท์จะเน้น เรื่อง การพัฒนาทางด้านสติปัญญา สร้างขึ้นจากผลงานวิจัยของเขาเอง ที่ได้สังเกตจาก บุตรและธิดา จากการสังเกตวิธีแก้ไขปัญหาของเด็ก เขาิคิดว่าวิธีการคิดการใช้เหตุผล ต่างของเด็กน่าสนใจมากเนื่องจากมีความแตกต่างจากการใช้เหตุผลของผู้ใหญ่


ผู้แต่ง

วรินธร สิริเตชะ
ราตรี รุ่งทวีชัย
การสอนกลุ่มทักษะ 2 ชื่อหนังสือ



4. ขอบข่าย และขอบเขต คณิตศาสตร์
     - การจัดหมวดหมู่
     - การเรียงลำดับ
     - นิติสัมพันธ์
     - ความสัมพันธ์เกี่ยวกับเวลา
     - การอนุรักษ์ หรือการคงที่ด้านปริมาน
     - การนับจำนวน
     - การเปรีบยเทียบ
     - รูปทรงและเนื้อที่
     - การวัด
     - แผนภูมิ


ผู้แต่ง
  
วรินธร สิริเตชะ
ราตรี รุ่งทวีชัย
ยุพิน พิพิธกุล








5.หลักการณ์จัดประสบการณ์ คณิตสาสตร์

- ครูผู้สอนจะต้องวางแผน ในการจัดกิจกรรม และมีจุดประสงค์ในการจัดกิจกรรมอย่างชัดเจน
- ครูผู้สอนจะต้องยึดเด้กเป็นสำคัญ  จัดการสอนให้เหมาะสมกับวัยและลำดับความสามรถของเด็กนักเรียน
- นักเีรียนได้มีส่วนร่วมในการกิจกรรม ที่มีทั้งแบบกลุ่มเดียว ด้วยสมรารถให้เด็กแสดงความคิดเห็นแบบสร้างสรรค์
- จัดสภาพแวดล้อมให้สอดคล้อง กับทางกายภาพสังคมเพื่อให้เด็ดเข้าใจอย่างแท้จริงและมีความสุข
- ครูผู้สอนเสริมแรงแกนักเรียน ถ้าหากพบความบกพร่องของนักเรียนควรช่วยแก้ไข
- ให้นักเรียนทรบเป้าหมายของกิจกรรม


ผู้แต่ง

วรินธร สิริเตชะ
ราตรี รุ่งทวีชัย
บุษยา คงศิลา


ชื่อหนังสือ ที่กลุ่มหา เนื้อหา




หนังสือ ของฉันเองค่ะ ที่นำมาเป็นเนื้อหา




วันศุกร์ที่ 9 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

เข้าเรียนครั้งที่2

เข้าเรียนครั้งที่2

วันศุกร์ ที่ 9 เดือน พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

การเรียน การสอน
-เมื่อเดินเข้าห้องเรียนมาอาจารย์ได้เข้ามาก่อนเเล้ว อาจารย์ได้ให้เพื่อนมาเพิ่มลิ้งค์บล็อกเพื่อน

                        -  สิ่งที่เด็กเรียนรู้ในห้องเรียนเด็กจะใช้เหตุผลเชื่อมโยงประสบการณ์
                        -  ส่วนมากเด็กจะใช้เหตุผลมาก กว่าประสบการณ์
                        - ถ้าเด็กไม่มีการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมเด็กจะยังไมได้เรียนรู้ถึงการเปลี่ยนแปลงได้ เท่าที่ควร
      


  อาจารย์สั่งการบ้าน
-อาจารย็ก็ได้เเจกกระดาษคนละเเผ่นและอาจารย์ให้เขียน คำว่าคณิตศาสตร์ และการจัดประสบการณ์ เด็กปฐมวัยเป็น ๓ ภาษาอังกฤษ






เฉลยคำที่ถูกต้อง


Mathematics = คณิตศาสตร์
Experience   = ประสบการณ์
Early childhood. = เด็กปฐมวัย


2.ให้ไปสำรวจว่าคณตสาสตร์หมายถึงอะไร มี่ชื่อ  ชื่อเรื่อง ชื่อผู้แต่ง เลขที่หน้า ปี/พ.ศ.
เลขหมู่
3.ให้หาจุดมุ่งหมาย และเป้าหมาย วัสถุประสงค์ การเรียนการสอนคณิตศาสตร์
4. การสอนการัดประสบการณ์ หรือทฤษฏีการสอน การจัดประสบการณ์คณิตศาสตร์
5. ขอบค่าย หรือขอบเขต ของคณิตศาสตร์มีอะไรบเาง
5. หลักการสอนคณิตศาสตร์
อาจารย์ให้ไปหาแล้วส่งอาทิตย์หน้า


 
พัฒนาการเด็ก 

สิ่งที่บ่งบอกถึงพัฒนาการเด็กได้ดีการเรียนคณิตศาสตร์

คณิตศาสตร์ยังเป็นเครื่องมือในการศึกษาด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและศาสตร์อื่นๆ เด็กปฐมวัย เป็นวัยเริ่มต้นแห่งการเรียนรู้ คณิตศาสตร์สามารถพัฒนาเสริมสร้างให้เด็กมีความรู้ความเข้าใจในธรรมชาติและสิ่งต่างๆ รอบตัว

 คณิตศาสตร์มีความสำคัญยิ่งต่อการพัฒนาความคิด ทำให้มนุษย์คิดอย่างมีเหตุผล เป็นระบบ มีแบบแผน ตลอดจนมีการพัฒนาความคิดสร้างสรรค์และสามารถวิเคราะห์ปัญหาหรือสถานการณ์ได้อย่างรอบคอบ ช่วยให้คาดการณ์วางแผน แก้ปัญหา และนำไปใช้ในชีวิตประจำวันได้อย่างเหมาะสมนอกจากนั้นคณิตศาสตร์ยังเป็นเครื่องมือในการศึกษาด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและศาสตร์อื่นๆ


             เด็กปฐมวัย เป็นวัยเริ่มต้นแห่งการเรียนรู้ มีความอยากรู้อยากเห็น ช่างสังเกต ชอบเล่น และสำรวจสิ่งต่างๆ รอบตัว คณิตศาสตร์สามารถพัฒนาเสริมสร้างให้เด็กมีความรู้ความเข้าใจในธรรมชาติและสิ่งต่างๆ รอบตัว การที่เด็กมีความรู้ความเข้าใจ มีทักษะกระบวนการทางคณิตศาสตร์ และมีเจตคติที่ดีต่อคณิตศาสตร์ ไม่เพียงส่งผลให้เด็กประสบความสำเร็จในการเรียนรู้ทางคณิตศาสตร์เท่านั้น แต่จะส่งผลต่อการเรียนรู้ในศาสตร์อื่น ๆ คณิตศาสตร์จึงมีบทบาทสำคัญทั้งในการเรียนรู้และมีประโยชน์ต่อการดำเนินชีวิต             สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.) ได้พัฒนากรอบมาตรฐานการเรียนรู้คณิตศาสตร์ปฐมวัย ตามหลักสูตรการศึกษาปฐมวัย พุทธศักราช 2546 ตั้งแต่ปี 2551 โดยคณะกรรมการซึ่งประกอบด้วย ผู้ทรงคุณวุฒิ นักวิชาการศึกษา ศึกษานิเทศก์ ผู้บริหารสถานศึกษาและครูผู้สอน ได้ร่วมกำหนดมาตรฐานการเรียนรู้ ตัวชี้วัด และสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ปฐมวัย อายุ 3 – 5 ปี เพื่อเป็นแนวทางให้สถานศึกษาหรือสถานพัฒนาเด็กปฐมวัยทุกสังกัดนำไปใช้จัดการศึกษาด้านคณิตศาสตร์ ได้อย่างถูกต้องเหมาะสม
เด็กปฐมวัยเรียนรู้อะไรในคณิตศาสตร์
             การเรียนรู้คณิตศาสตร์ระดับปฐมวัย มุ่งหวังให้เด็กทุกคนได้เตรียมความพร้อมด้านต่าง ทางคณิตศาสตร์อันเป็นพื้นฐานในการเรียนรู้คณิตศาสตร์ระดับประถมศึกษา โดยกำหนดสาระหลักที่จำเป็นสำหรับเด็ก ได้แก่ จำนวนและการดำเนินการ จำนวน การรวมกลุ่ม และการแยกกลุ่ม การวัด ความยาว น้ำหนัก ปริมาตร เงินและเวลา เรขาคณิต ตำแหน่ง ทิศทาง ระยะทาง รูปเรขาคณิตสามมิติและรูปเรขาคณิตสองมิติ พีชคณิต แบบรูปและความสัมพันธ์ การวิเคราะห์ข้อมูลและความน่าจะเป็น การเก็บรวบรวมข้อมูลและการนำเสนอ ทักษะและกระบวนการทางคณิตศาสตร์ การแก้ปัญหา การให้เหตุผล การสื่อสาร การสื่อความหมายทางคณิตศาสตร์และการนำเสนอ การเชื่อมโยงความรู้ต่างๆ ทางคณิตศาสตร์ และเชื่อมโยงคณิตศาสตร์กับศาสตร์อื่นๆ และมีความคิดสร้างสรรค์



สาระและมาตรฐานการเรียนรู้คณิตศาสตร์ปฐมวัย

             มาตรฐานการเรียนรู้ เป็นเป้าหมายสำคัญในการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ให้กับเด็ก รวมทั้งเป็นแนวทางในการกำกับ ตรวจสอบ และประเมินผล มาตรฐานการเรียนรู้จัดให้อยู่ภายใต้สาระหลัก ดังนี้            
 สาระที่ 1 : จำนวนและการดำเนินการ มาตรฐาน ค.ป. 1.1 : เข้าใจถึงความหลากหลายของการแสดงจำนวน และการใช้จำนวนในชีวิตจริง             
  สาระที่ 2 : การวัด มาตรฐาน ค.ป. 2.1 : เข้าใจพื้นฐานเกี่ยวกับการวัด ความยาว น้ำหนัก ปริมาตร เงินและเวลา            
 สาระที่ 3 : เรขาคณิต มาตรฐาน ค.ป. 3.1 : รู้จักใช้คำในการบอกตำแหน่ง ทิศทาง และระยะทางมาตรฐาน ค.ป. 3.2 : รู้จัก จำแนกรูปเรขาคณิต และเข้าใจการเปลี่ยนแปลงรูปเรขาคณิตที่เกิดจากการจัดกระทำ             
 สาระที่ 4 : พีชคณิต มาตรฐาน ค.ป. 4.1 : เข้าใจแบบรูปและความสัมพันธ์             
 สาระที่ 5 : การวิเคราะห์ข้อมูลและความน่าจะเป็น มาตรฐาน ค.ป. 5.1 : รวบรวมข้อมูลที่เกี่ยวกับตนเองและสิ่งแวดล้อม และนำเสนอ           
  สาระที่ 6 : ทักษะกระบวนการทางคณิตศาสตร์ การจัดประสบการณ์การเรียนรู้ ครูควรคอยสอดแทรกทักษะและกระบวนการ


ทางคณิตศาสตร์ตามความเหมาะสมกับระดับอายุ
             นางเชอรี่ อยู่ดี หัวหน้าสาขาคณิตศาสตร์ประถมศึกษา สสวท. ประธานคณะกรรมการกำหนดแนวทางการจัดทำคู่มือกรอบมาตรฐานการเรียนรู้คณิตศาสตร์ปฐมวัย ตามหลักสูตรการศึกษาปฐมวัย พุทธศักราช 2546 ได้กล่าวถึงปัจจัยสำคัญของการจัดประสบการณ์การเรียนรู้คณิตศาสตร์ว่า “ปัจจัยสำคัญที่ทำให้การจัดประสบการณ์เรียนรู้คณิตศาสตร์บรรลุมาตรฐานการเรียนรู้มี 4 ประการ ได้แก่ ผู้บริหาร ซึ่งมีบทบาทในการจัดสรรงบประมาณ จัดหาสื่ออุปกรณ์ที่ใช้ในการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ให้เพียงพอ การบริหารประสานงาน วางแผนกำกับดูแล สร้างขวัญกำลังใจครูผู้สอน ส่งเสริมความสามารถของเด็กทุกด้าน วางนโยบายการนิเทศภายในให้ชัดเจน และประเมินผลการปฏิบัติงานของครูผู้สอนรอบด้านอย่างยุติธรรม ครูผู้สอน ซึ่งควรจะมีการพัฒนาความรู้ จัดกิจกรรมหลากหลาย มีจรรยาบรรณในวิชาชีพครู เด็ก ต้องมีความสนใจใฝ่รู้ ช่างสังเกตซักถาม คาดเดา อธิบายเหตุผลของตนเอง สภาพแวดล้อม หรือความพร้อมของสถานศึกษา ห้องเรียน นอกจาก44 ปัจจัยดังกล่าวแล้วยังต้องการบทบาทการสนับสนุนจากผู้ปกครองด้วย”






คุณภาพทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัย ในแต่ละช่วงอายุ มีความซับซ้อนแตกต่างกัน
ดังนี้      
       
     คุณภาพทางคณิตศาสตร์ของเด็กอายุ 3 ปี ควรมีความสามารถดังนี้ 1) มีความรู้ ความเข้าใจและมีพัฒนาการด้านความรู้สึกเชิงจำนวน เกี่ยวกับจำนวนนับไม่เกินห้า และเข้าใจเกี่ยวกับการรวมกลุ่ม และการแยกกลุ่ม 2) มีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับความยาว น้ำหนัก ปริมาตร และเวลา สามารถเปรียบเทียบ และใช้คำเกี่ยวกับการเปรียบเทียบความยาว น้ำหนัก และปริมาตร และเวลา สามารถเปรียบเทียบ และใช้คำเกี่ยวกับการเปรียบเทียบความยาว น้ำหนัก และปริมาตร สามารถบอกกิจกรรมหรือเหตุการณ์ในชีวิตประจำวันที่เกิดขึ้นในช่วงเวลากลางวันและกลางคืน 3) มีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับตำแหน่ง สามารถใช้คำบอกตำแหน่งของสิ่งต่าง ๆรู้จักทรงกลม ทรงสี่เหลี่ยมมุมฉากจากสิ่งต่างๆ ในชีวิตประจำวัน และใช้ทรงกลม ทรงสี่เหลี่ยมมุมฉาก สร้างสรรค์งานศิลปะ            
 คุณภาพทางคณิตศาสตร์ของเด็กอายุ 4 ปี ควรมีความสามารถดังนี้ 1) มีความรู้ ความเข้าใจและมีพัฒนาการด้านความรู้สึกเชิงจำนวน เกี่ยวกับจำนวนนับไม่เกินสิบ และเข้าใจเกี่ยวกับการรวมกลุ่ม และการแยกกลุ่ม 2) มีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับความยาว น้ำหนัก ปริมาตร และเวลา สามารถเรียงลำดับความยาวน้ำหนัก ปริมาตร และเวลา สามารถบอกกิจกรรมหรือเหตุการณ์ในชีวิตประจำวันที่เกิดขึ้นในช่วงเวลาเช้า เที่ยง



เย็น และเรียงลำดับกิจกรรม หรือเหตุการณ์ในชีวิตประจำวันตามช่วงเวลา 3) มีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับตำแหน่ง สามารถใช้คำบอกตำแหน่งและแสดงของสิ่งต่าง ๆ สามารถจำแนกทรงกลม ทรงสี่เหลี่ยมมุมฉาก และใช้ทรงกลม ทรงสี่เหลี่ยมมุมฉาก กรวย ทรงกระบอกสร้างสรรค์งานศิลปะ 4) มีความรู้ ความเข้าใจ แบบรูปของรูปที่มีรูปร่าง ขนาด สี ที่สัมพันธ์กันอย่างใดอย่างหนึ่ง สามารถทำตามแบบรูปที่กำหนดเย็น และเรียงลำดับกิจกรรม หรือเหตุการณ์ในชีวิตประจำวันตามช่วงเวลา 3) มีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับตำแหน่ง สามารถใช้คำบอกตำแหน่งและแสดงของสิ่งต่าง ๆ สามารถจำแนกทรงกลม ทรงสี่เหลี่ยมมุมฉาก และใช้ทรงกลม ทรงสี่เหลี่ยมมุมฉาก กรวย ทรงกระบอกสร้างสรรค์งานศิลปะ 4) มีความรู้ ความเข้าใจ แบบรูปของรูปที่มีรูปร่าง ขนาด สี ที่สัมพันธ์กันอย่างใดอย่างหนึ่ง สามารถทำตามแบบรูปที่กำหนดเย็น และเรียงลำดับกิจกรรม หรือเหตุการณ์ในชีวิตประจำวันตามช่วงเวลา 3) มีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับตำแหน่ง สามารถใช้คำบอกตำแหน่งและแสดงของสิ่งต่าง ๆ สามารถจำแนกทรงกลม ทรงสี่เหลี่ยมมุมฉาก และใช้ทรงกลม ทรงสี่เหลี่ยมมุมฉาก กรวย ทรงกระบอกสร้างสรรค์งานศิลปะ 4) มีความรู้ ความเข้าใจ แบบรูปของรูปที่มีรูปร่าง ขนาด สี ที่สัมพันธ์กันอย่างใดอย่างหนึ่ง สามารถทำตามแบบรูปที่กำหนด             



คุณภาพทางคณิตศาสตร์ของเด็กอายุ 5 ปี ควรมีความสามารถดังนี้ 1) มีความรู้ ความเข้าใจและมีพัฒนาการด้านความรู้สึกเชิงจำนวน เกี่ยวกับจำนวนนับไม่เกินยี่สิบ และเข้าใจเกี่ยวกับการรวมกลุ่ม และการแยกกลุ่ม 2) มีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับความยาว น้ำหนัก ปริมาตร เวลา และเงิน สามารถวัดและบอกความยาว น้ำหนัก และปริมาตร โดยใช้เครื่องมือและหน่วยที่ไม่ใช่หน่วยมาตรฐาน สามารถเรียงลำดับเรียงลำดับชื่อวันในหนึ่งสัปดาห์และบอกกิจกรรมหรือเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น เมื่อวานนี้ วันนี้ พรุ่งนี้ เข้าใจเกี่ยวกับเงิน สามารถบอกชนิดและค่าของเงินเหรียญและธนบัตร 3) มีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับตำแหน่ง ทิศทางและระยะทาง สามารถใช้คำบอกตำแหน่ง ทิศทาง และระยะทาง และแสดงตำแหน่ง ทิศทาง และระยะทางของสิ่งต่าง ๆ สามารถจำแนกทรงกลมทรงสี่เหลี่ยมมุมฉาก กรวย ทรงกระบอก และจำแนกรูปวงกลม รูปสามเหลี่ยม รูปสี่เหลี่ยม สามารถอธิบายการเปลี่ยนแปลงรูปเรขาคณิตสองมิติที่เกิดจากการตัด ต่อเติม พับ หรือคลี่ และสร้างสรรค์งานศิลปะจากรูปเรขาคณิตสามมิติและสองมิติ 4) มีความรู้ ความเข้าใจ แบบรูปของรูปที่มีรูปร่าง ขนาด สี ที่สัมพันธ์กันอย่างใดอย่างหนึ่งสามารถต่อแบบรูปที่กำหนดและสร้างเพิ่มเติม 5) มีส่วนร่วมในการให้ข้อมูลและการนำเสนอข้อมูลในรูปแผนภูมิอย่างง่าย             การจัดประสบการณ์การเรียนรู้คณิตศาสตร์ของเด็ก ต้องคำนึงถึงขั้นตอนการเรียนรู้ของเด็ก ได้แก่ ทบทวบความรู้พื้นฐาน สอนเนื้อหาใหม่ สรุปสาระสำคัญทางคณิตศาสตร์ ฝึกทักษะหรือฝึกปฏิบัติ นำความรู้ไปใช้ วัดและประเมินผล ตัวอย่างรูปแบบของการจัดประสบการณ์การเรียนรู้คณิตศาสตร์ระดับปฐมวัยที่น่าสนใจ อาทิ การเรียนรู้จากการปฏิบัติจริง การเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ การเรียนรู้จากการใช้คำถาม เป็นต้น


             “ครูผู้สอนจำเป็นต้องศึกษาและทำความเข้าใจ เกี่ยวกับมาตรฐานการเรียนรู้ ตัวชี้วัด สาระการเรียนรู้และสาระสำคัญทางคณิตศาสตร์ ในการจัดประสบการณ์การเรียนรู้สำหรับเด็กปฐมวัย ครูต้องยึดเด็กเป็นสำคัญ กล่าวคือ การเรียนรู้โดยให้เด็กมีส่วนร่วมรู้ ร่วมคิด ร่วมทำ ควรคำนึงถึงความสนใจและความแตกต่างของเด็กแต่ละคน การจัดประสบการณ์การเรียนรู้จึงควรหลากหลาย อาจจัดให้ทำกิจกรรมร่วมกันทั้งชั้น ทำในกลุ่มย่อย ทำเป็นรายบุคคล สถานที่ควรมีทั้งในห้องเรียน นอกห้องเรียน บริเวณโรงเรียน และศึกษาจากแหล่งเรียนรู้ในชุมชนหรือในท้องถิ่น” นางเชอรี่ อยู่ดี กล่าว             นอกจากนั้น เทคนิคการจูงใจให้เด็กๆ สนุกกับการเรียนคณิตศาสตร์อีกอย่าง คือ ให้เด็กได้เรียนรู้และค้นพบสิ่งท้าทาย ด้วยกิจกรรมและเกมที่ช่วยฝึกทักษะคณิตศาสตร์ให้เด็กได้ร่วมสนุกพร้อมสอดแทรกเนื้อหาความรู้เข้าไป            
 ทั้งนี้ สสวท. ได้จัดทำแผนการจัดประสบการณ์การเรียนรู้คณิตศาสตร์ปฐมวัย ตามสาระ มาตรฐานและตัวชี้วัด รวมทั้งตัวอย่างกิจกรรมไว้อย่างละเอียดและชัดเจน เพื่อให้ครูและผู้เกี่ยวข้องใช้เป็นแนวทางจัดประสบการณ์การเรียนรู้คณิตศาสตร์ปฐมวัย ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งสอดคล้องกับกรอบมาตรฐานการเรียนรู้คณิตศาสตร์ปฐมวัย ตามหลักสูตรการศึกษาปฐมวัย พุทธศักราช 2546 และสามารถเชื่อมต่อกับสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ของหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551

แหล่งการเรียนรู้  http://www.vcharkarn.com

วันศุกร์ที่ 2 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

เข้าเรียนครั้งที่ 1


                                                              เข้าเรียนครั้งที่ 1

วันที่ 2 เดือน พฤศจิกายน พ.ศ. 2555
      
         การเรียน การสอน
     -อาจารย์เเจกกระดาษให้ตัวเองเช็คชื่อ ด้วยตัวเอง
    -อาจารย์ให้เเจกกระดาษคนละแผ่นในชั้นเรียน    
    -จากนั้นอาจารย์ก็ให้ทุกคนเเสดงความคิดเห็นว่าวิชาที่เคยเรียนในภาคเรียนที่เเล้วคือวิชาการจัดประสบการณ์ทางภาษาสำหรับเด็กปฐมวัยกับวิชาการจัดประสบการณ์คณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัยมีความเเต่งต่างกันอย่างไรบ้าง   
             
จากกระดาษที่อาจารย์เเจก กระดาษให้เขียนงาน 2 ข้อ
  1. ให้เขียนความหมายของวิชาการจัดประสบการณ์คณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัยตามความเข้าใจมา 2 ประโยค
                         
 2. ให้เขียนสิ่งที่คิดว่าจะได้รับจากการเรียนวิชาการจัดประสบการณ์คณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย

- อาจารย์ให้แสดงข้อตกลงกันว่า กลุ่ม102ว่าคาบนี้จะเลิกไปทำบล็อกจะให้อาจารย์ปล่อยก่อน 40 นาทีเพื่อไปทำงานบล็อก หรือว่าเรียนเต็มคาบเพื่อกลับไปทำงานบล็อกที่บ้าน กลุ่ม102 ตกลงกันว่าจะให้อาจารย์ปล่อยก่อน 40 นาทีเพื่อไปทำบล็อกของตัวเอง เเละอาจารย์ก็จะตรวจดูความคืบหน้าของบล็อกที่ทำทุกคาบทุกวันเสาร์ 17.00-18.30 น.






ความเข้าใจในห้องเรียน
  - สิ่งที่เเตกต่างสำหรับวิชาการจัดประสบการณ์ทางภาษาสำหรับเด็กปฐมวัยกับวิชาการจัดประสบการณ์    คณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัยคือ คำว่า ภาษา เเละคณิตศาสตร์
 - เมื่อเราทำอะไรบ่อยๆฟังเเล้วมีการจดบันทึก และติดตาม จะทำให้เราเกิดการเรียนรู้
 - พัฒนาการ คือ การเปลี่ยนแปลงที่เป็นลำดับขั้นตอนอย่างต่อเนื่อง
 - การเรียนรู้ คือ การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม ที่ดีขึ้นไป
 - วุฒิภาวะ คือ ความสามารถในแต่ละช่วงวัย


                                                               ฉันทำเองเลยนะ

ทำขึ้นโดย นางสาวกมลวรรณ ศรีสำราญ
  


ทฤษฎีพัฒนาการทางสติปัญญาของเพียเจต์







               ขั้นประสาทรับรู้และการเคลื่อนไหว  (Sensori-Motor  Stage)  ขั้นนี้เริ่มตั้งแต่แรกเกิดจนถึง 2 ปี  พฤติกรรมของเด็กในวัยนี้ขึ้นอยู่กับการเคลื่อนไหวเป็นส่วนใหญ่  เช่น  การไขว่คว้า  การเคลื่อนไหว  การมอง  การดู  ในวัยนี้เด็กแสดงออกทางด้านร่างกายให้เห็นว่ามีสติปัญญาด้วยการกระทำ  เด็กสามารถแก้ปัญหาได้  แม้ว่าจะไม่สามารถอธิบายได้ด้วยคำพูด  เด็กจะต้องมีโอกาสที่จะปะทะกับสิ่งแวดล้อมด้วยตนเอง  ซึ่งถือว่าเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับพัฒนาการด้านสติปัญญาและความคิดในขั้นนี้  มีความคิดความเข้าใจของเด็กจะก้าวหน้าอย่างรวดเร็ว  เช่น  สามารถประสานงานระหว่างกล้ามเนื้อมือ  และสายตา  เด็กในวัยนี้มักจะทำอะไรซ้ำบ่อยๆ  เป็นการเลียนแบบ  พยายามแก้ปัญหาแบบลองผิดลองถูก เมื่อสิ้นสุดระยะนี้เด็กจะมีการแสดงออกของพฤติกรรมอย่างมีจุดมุ่งหมายและสามารถแก้ปัญหาโดยการเปลี่ยนวิธีการต่าง ๆ  เพื่อให้ได้สิ่งที่ต้องการแต่กิจกรรมการคิดของเด็กวัยนี้ส่วนใหญ่ยังคงอยู่เฉพาะสิ่งที่สามารถสัมผัสได้เท่านั้น                       

                ทฤษฎีพัฒนาการทางสติปัญญาของบรุนเนอร์

          

           บรุนเนอร์ (Bruner) เป็นนักจิตวิทยาที่สนใจและศึกษาเรื่องของพัฒนาการทางสติปัญญาต่อเนื่องจากเพียเจต์ บรุนเนอร์เชื่อว่ามนุษย์เลือกที่จะรับรู้สิ่งที่ตนเองสนใจและการเรียนรู้เกิดจากกระบวนการค้นพบด้วยตัวเอง     (discovery learning)      แนวคิดที่สำคัญ ๆ ของบรุนเนอร์
                        ทฤษฎีการเรียนรู้  
 1 การจัดโครงสร้างของความรู้ให้มีความสัมพันธ์ และสอดคล้องกับพัฒนาการทางสติปัญญาของเด็ก มีผลต่อการเรียนรู้ของเด็ก  
 2 การจัดหลักสูตรและการเรียนการสอนให้เหมาะสมกับระดับความพร้อมของผู้เรียน และสอดคล้องกับพัฒนาการทางสติปัญญาของผู้เรียนจะช่วยให้การเรียนรู้เกิดประสิทธิ
 3 การคิดแบบหยั่งรู้ (intuition) เป็นการคิดหาเหตุผลอย่างอิสระที่สามารถช่วยพัฒนาความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ได้   
4 แรงจูงใจภายในเป็นปัจจัยสำคัญที่จะช่วยให้ผู้เรียนประสบผลสำเร็จในการเรียนรู้   
5 ทฤษฎีพัฒนาการทางสติปัญญาของมนุษย์แบ่งได้เป็น 3 ขั้นใหญ่ ๆ คือ                
          5.1 ขั้นการเรียนรู้จากการกระทำ (Enactive Stage) คือ ขั้นของการเรียนรู้จากการใช้ประสาทสัมผัสรับรู้สิ่งต่าง ๆ การลงมือกระทำช่วยให้เด็กเกิดการเรียนรู้ดี การเรียนรู้เกิดจากการกระทำ             
          5.2 ขั้นการเรียนรู้จากความคิด (Iconic Stage) เป็นขั้นที่เด็กสามารถสร้างมโนภาพในใจได้ และสามารถเรียนรู้จากภาพแทนของจริงได้                 
          5.3 ขั้นการเรียนรู้สัญลักษณ์และนามธรรม (Symbolic Stage) เป็นขั้นการเรียนรู้สิ่งที่ซับซ้อนและเป็นนามธรรมได้
  6 การเรียนรู้เกิดขึ้นได้จากการที่คนเราสามารถสร้างความคิดรวบยอด หรือสามารถจัดประเภทของสิ่งต่าง ๆ ได้อย่างเหมาะสม7) การเรียนรู้ที่ได้ผลดีที่สุด คือ การให้ผู้เรียนค้นพบการเรียนรู้ด้วยตนเอง (discovery  learning)