คลิกที่รูป เพื่อเอาโค้ดรูปนี้ไปแปะ

วันอังคารที่ 12 มีนาคม พ.ศ. 2556

วันศุกร์ที่ 1 มีนาคม พ.ศ. 2556

สรุปงานวิจัย

สรุปงานวิจัย 

สรุปงานวิจัย 3เรื่อง ที่ใส่ในบล็อก ที่มีความสำคัญกับคณิตศาสตร์

 เรื่อง 1:ทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัยด้วยกิจกรรมเกมการศึกษาลอตโต


 เรื่อง 2: ทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดกิจกรรมศิลปสร้างสรรค์ด้วยขนมอบ


 เรื่องที่ 3: การพัฒนาทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัยโดยใช้รูปแบบกิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์เพื่อการเรียนรู้










งานวิจัยเรื่อง : ทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัยด้วยกิจกรรมเกมการศึกษาลอตโต

การศึกษาระดับ :  บัณฑิต
มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ

ผู้วิจัย: วรรณี วัจนสวัสดิ์


บทนำ


ความเป็นมาและความสำคัญ
เกมการศึกษาเป็นกิจกรรมการสอนชนิดหนึ่งที่สนับสนุนทฤษฎีการเรียนรู้ของเด็ก คือ จัดให้เด็กได้เรียนรู้จากการเล่นสิ่งที่เป็นรูปธรรม เกมการศึกษาจึงเป็นกิจกรรมการเล่นที่ช่วยฝึกทักษะและช่วยให้เด็กเกิดความคิดรวบยอดเกี่ยวกับสิ่งที่เรียน นอกจากนี้ยังช่วยฝึกการแก้ปัญหา การคิดหาเหตุผลการสังเกตเปรียบเทียบ การจำแนก การจัดหมวดหมู่ อันเป็นทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์

ความมุ่งหมายของการวิจัย
ในการวิจัยครั้งนี้ผู้วิจัยได้ตั้งความมุ่งหมายไว้ เพื่อเปรียบเทียบทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์
ของเด็กปฐมวัยก่อนและหลังที่ได้รับกิจกรรมเกมการศึกษาลอตโต

ความสำคัญของการวิจัย
การวิจัยครั้งนี้ทำให้ทราบถึงทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัยที่ได้รับกิจกรรม
เกมการศึกษาลอตโต เพื่อเป็นแนวทางสำหรับครู ผู้ปกครอง และผู้ที่เกี่ยวข้องในการส่งเสริมและ
พัฒนาทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ รวมทั้งการจัดกิจกรรมการเล่นให้เหมาะสมยิ่งขึ้น

ขอบเขตของการวิจัย
     ตัวแปรที่ศึกษา
1. ตัวแปรต้น กิจกรรมเกมการศึกษาลอตโต
2. ตัวแปรตาม ทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์

นิยามศัพท์เฉพาะ
1. เด็กปฐมวัย หมายถึง เด็กที่มีอายุระหว่าง 4–5 ปี ที่กำลังศึกษาอยู่ในชั้นอนุบาลปีที่ 2ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2551 ส่วนการศึกษาอนุบาลโรงเรียนไผทอุดมศึกษา กรุงเทพมหานครสำนักบริหารงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน เขตพื้นที่การศึกษาที่2
2. ทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ หมายถึง ความสามารถของเด็กปฐมวัยในการสังเกตเปรียบเทียบ สี ขนาด จำแนกในรูปร่าง ขนาด การจัดหมวดหมู่ การเรียงลำดับเหตุการณ์ก่อนหลังและการรู้ค่าจำนวน


กรอบแนวคิดในการวิจัย
        กิจกรรม เกมการศึกษาลอตโต :     ทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์

                                   1. การสังเกตเปรียบเทียบ
                                   2. การจัดหมวดหมู่
                                   3. การเรียงลำดับ
                                   4. การรู้ค่าจำนวน

สมมติฐานในการวิจัย
เด็กปฐมวัยที่ได้รับกิจกรรมเกมการศึกษาลอตโตมีทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์สูงกว่าก่อนการทดลอง

 บทที่ 3




วิธีการดำเนินงาน
      การกำหนดประชากรและกลุ่มตัวอย่าง
ประชากร
ประชากรที่ใช้ในการสุ่มตัวอย่างครั้งนี้เป็นนักเรียนชายและหญิง อายุ 4-5 ปี ซึ่งกำลังศึกษาอยู่ชั้นอนุบาลปีที่ 2 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2551 โรงเรียนไผทอุดมศึกษา สังกัดสำนักงานบริหารงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน เขตพื้นที่การศึกษา 2 กรุงเทพมหานคร จำนวน243 คน

การเลือกกลุ่มตัวอย่าง
กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ เป็นนักเรียนชายหญิง อายุ 4-5 ปี ที่กำลังศึกษาอยู่ในชั้นอนุบาลปีที่ 2 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2551 ส่วนการศึกษาอนุบาลโรงเรียนไผทอุดมศึกษากรุงเทพมหานคร สังกัดสำนักงานบริหารงานคณะกรรมการส่งเสริม การศึกษาเอกชน เขตพื้นที่การศึกษา 2จำนวน 30 คน โดยมีขั้นตอนคัดเลือกกลุ่มตัวอย่างด้วยวิธีการสุ่มอย่างง่าย (Simpie Random Sampling)มา 1 ห้องเรียนจากจำนวนทั้งหมด 8 ห้องเรียน

เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย
1. กิจกรรมเกมการศึกษาลอตโต จำนวน 60 กิจกรรม
2. แบบทดสอบวัดความสามารถทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัยจำนวน 40 ข้อ

วิธีดำเนินการศึกษาค้นคว้า
      การสร้างเกมการศึกษาลอตโต
1. ศึกษาข้อมูลเบื้องต้น ประโยชน์และประเภทในการสร้างเกมการศึกษาลอตโต เช่น ทฤษฎีพัฒนาการและการเรียนรู้ของเด็กปฐมวัย เกมและการเล่นสำหรับเด็กปฐมวัย องค์ประกอบของทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัย และหลักสูตรระดับปฐมวัย
2. สร้างเกมการศึกษาลอตโตจำนวน 60 เกมโดยกำหนด ชื่อเกม ระยะเวลา จุดประสงค์และการดำเนิกิจกรรม
3. นำเกมการศึกษาลอตโตที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นให้ผู้เชี่ยวชาญตรวจสอบความสอดคล้องของกิจกรรมเกการศึกษาลอตโตกับทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์
4. ปรับปรุงเกมการศึกษาลอตโตตามคำแนะนำของผู้เชี่ยวชาญ ผลการพิจารณาของผู้เชี่ยวชาญได้ลงความเห็นตรงกัน คือ ปรับภาษาของคำถามบางเกมให้เหมาะสมยิ่งขึ้น ปรับรูปภาพตัวเลือกให้มีความชัดเจน
5. นำเกมการศึกษาลอตโตที่ปรับปรุงแก้ไขตามคำแนะนำของผู้เชี่ยวชาญไปทดลองใช้จริงกับเด็กนักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 2 จำนวน 30 คนที่เลือกมาโดยวิธีสุ่มอย่างง่าย แต่ไม่ใช่กลุ่มตัวอย่างเพื่อปรับปรุงเกมการศึกษาลอตโตให้เหมาะสมกับระยะเวลาที่กำหนดไว้
6. นำเกมการศึกษาลอตโตที่ปรับปรุงเหมาะสมแล้วไปจัดทำเป็นฉบับสมบูรณ์ เพื่อนำไปใช้กับกลุ่มตัวอย่างในการทดลอง ซึงมีจำนวนทั้งหมด 45 เกม

วิธีดำเนินการทดลอง
1. สร้างความคุ้นเคยกับกลุ่มตัวอย่างเป็นเวลา 1 สัปดาห์
2. นำแบบทดสอบวัดทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นมาทดสอบก่อนทดลอง
กับกลุ่มตัวอย่าง
3. ดำเนินการทดลองกับกลุ่มตัวอย่าง โดยการใช้เกมการศึกษาลอตโต เป็นเวลา 8 สัปดาห์
สัปดาห์ละ 5 วัน วันละ 30 นาที
4. ในการดำเนินการทดลองในแต่ละวัน เด็กจะแบ่งกลุ่มออกเป็น 5 กลุ่มๆ ละ 6 คนเด็ก
สามารถเลือกหยิบเกมการศึกษาลอตโตจากมุมเกมการศึกษามาเล่นด้วยตนเอง เมื่อเล่นเสร็จแล้วเด็ก
ต้องนำเกมไปเก็บไว้ที่มุมเกมตามเดิมให้เรียบร้อยแล้วจึงหยิบเกมใหม่ออกมาเล่นในการจัดเกม
การศึกษาลอตโตจะมีเกมใหม่เปลี่ยนเข้ามาทุกวันๆ ละ 1 เกม
5. หลังจากทำการทดลองด้วยกิจกรรมเกมการศึกษาลอตโตแล้ว ได้จัดให้มีการทดสอบด้วย
แบบทดสอบวัดทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์อีกครั้ง

การวิเคราะห์ข้อมูล
1. หาค่าสถิติพื้นฐานของคะแนนจากแบบทดสอบวัดทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ก่อน
และหลังการทดลอง โดยนำข้อมูลไปหาค่าเฉลี่ย (Mean) และค่าความเบี่ยงเบนมาตรฐาน
2. เปรียบเทียบทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ก่อนและหลังการจัดกิจกรรมโดยใช้ t–test for
Dependent Samples (ล้วน สายยศ; และอังคณา สายยศ. 2538: 104)

สรุปผลการวิจัย
1. ทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัยหลังการทำกิจกรรมเกมการศึกษาลอตโตโดยรวมและรายด้านคือ ด้านการสังเกตเปรียบเทียบ ด้านการจัดหมวดหมู่ ด้านการเรียงลำดับด้านการรู้ค่าจำนวน สูงขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
2. เด็กปฐมวัยมีทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์หลังการทำกิจกรรมเกมการศึกษาลอตโตทั้งโดยรวม และรายด้าน มีการเปลี่ยนแปลงทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์สูงขึ้น ในรายด้านทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ด้านการจัดหมวดหมู่เป็นอันดับแรก รองลงมาคือ ด้านการสังเกตเปรียบเทียบด้านการเรียงลำดับ และด้านการรู้ค่าจำนวนตามลำดับ

ข้อเสนอแนะ
1. ครูควรนำ กิจกรรมเกมการศึกษาลอตโตมาใช้ในการพัฒนาทักษะพื้นฐานทาง
คณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัยได้โดยพิจารณาความยากง่ายเหมาะสมกับความสามารถของเด็ก
2. ครูควรสร้างบรรยากาศที่เต็มไปด้วยการยอมรับเป็นกันเอง พร้อมทั้งกระตุ้นและเปิด
โอกาสให้เด็กเลือกเล่นอย่างอิสระ ในระหว่างทำกิจกรรมซึ่งจะส่งผลให้เด็กได้มีพัฒนาการจากการเล่น
เกมอย่างเต็มศักยภาพ และในการแนะนำวิธีการเล่นเกมการศึกษาลอตโต ครูควรมั่นใจว่าเด็กเข้าใจ
วิธีการเล่นเกมแต่ละเกมเป็นอย่างดีหากพบว่าเด็กยังไม่เข้าใจหรือมีปัญหา ครูควรเข้าไปมีส่วนร่วมใน
การเล่นกับเด็ก
3. เมื่อสิ้นสุดกิจกรรมควรนำเกมการศึกษาลอตโตจัดไว้ในมุมเพื่อให้เด็กได้เล่นทุกโอกาสที่
ต้องการ เพื่อให้เด็กได้ฝึกฝนทักษะอย่างต่อเนื่อง




















งานวิจัยเรื่อง :  ทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดกิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์ด้วยขนมอบ

การศึกษาระดับ : บัณฑิมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ

ผู้วิจัย :   พิจิตรา เกษประดิษฐ์

บทนำ


ความเป็นมาและความสำคัญ
การจัดกิจกรรมการใช้ขนมอบ ทำกิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์ สามารถทำให้เด็กเกิดการเรียนรู้ ตลอดจนมีพัฒนาการด้านสติปัญญาในด้านทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ จากการใช้ขนมอบทำกิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์จะเป็นแนวทางสำหรับครู ผู้บริหาร ตลอดจนผู้เกี่ยวข้องกับการจัดการศึกษาสำหรับเด็กปฐมวัยในการจัด และพัฒนารูปแบบของกิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์ และพัฒนาทักษะทางคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัยต่อไป

 ความมุ่งหมายของการวิจัย เพื่อเปรียบเทียบทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัย ก่อนและหลังการจัดกิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์ด้วยขนมอบ

ความสำคัญของการวิจัยผลการวิจัยครั้งนี้ จะเป็นข้อมูลประกอบการตัดสินใจ สำหรับครูและบุคลากรที่เกี่ยวข้องกับเด็กปฐมวัย ในการนำกิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์ด้วยขนมอบ ไปใช้เพื่อส่งเสริมทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัยอีกวิธีหนึ่ง



ขอบเขตของงานวิจัย           
   ตัวแปรที่ศึกษาตัวแปรต้น    คือ  การจัดกิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์ด้วยขนมอบตัวแปรตาม คือ ทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ 

นิยามศัพท์เฉพาะ  1.เด็กปฐมวัย หมายถึง เด็กนักเรียนชาย-หญิง ที่มีอายุระหว่าง 3 – 4 ปี ซึ่งกำลังศึกษาอยู่ในชั้นอนุบาลปีที่ในชั้นอนุบาลปีที่ในชั้นอนุบาลปีที่ในชั้นอนุบาลปีที่ 1 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2551 ของโรงเรียนอนุบาลกุ๊กไก่ สังกัด สำนักการศึกษาเอกชน กรุงเทพมหานคร2. กิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์ด้วยขนมอบ หมายถึง    กิจกรรมที่เด็กที่เด็กได้ใช้ประสาทสัมผัสในการทำกิจกรรมตกแต่งบนขนมอบ คือ ขนมปัง คุกกี้ พาย เค้ก ซึ่งขนมอบทั้ง 4ชนิดนี้ มีรูปร่างรูปทรง เด็กจะได้มีโอกาสเลือกและลงมือปฏิบัติ โดยใช้วัสดุอื่นๆ เป็นส่วนประกอบ เช่น ครีมแต่งหน้าเค้กน้ำตาลไอซิ่ง แยม ช็อกโกแลต และวัตถุดิบโรยหน้าต่างๆ มาตกแต่งด้วยวิธี การโรยหน้า ทา วาด เขียนลงบนขนมอบชนิดต่างๆ ตามความคิดและจินตนาการ


กรอบแนวคิดการวิจัย

การจัดกิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์ด้วยขนมอบ    :       ทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์                                                                                                                                                                                                                                                                        

                                                                                       1. การสังเกตและจำแนก

                                                                                       2. การเปรียบเทียบ
                                                                                      
                                                                                       3. การจัดหมวดหมู่


สมมติฐานของการวิจัยเด็กปฐมวัยที่ทำกิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์ด้วยขนมอบ มีทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์สูงขึ้น                                                                                                                                                           

 บทที่3

วิธีการดำเนินงาน การกำหนดประชากรและกลุ่มตัวอย่าง ประชากรกลุ่มตัวอย่างกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ เป็นเด็กปฐมวัยชาย-หญิง ที่มีอายุ 3 – 4 ปี ซึ่งกำลังศึกษาอยู่ในชั้นอนุบาลปีที่ 1/3 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2551 ของโรงเรียนอนุบาลกุ๊กไก่ สังกัดสำนักการศึกษาเอกชน กรุงเทพมหานคร โดยการสุ่มกลุ่มตัวอย่าง ด้วยการจับฉลากมา 1 ห้องเรียนจากจำนวน 4 ห้องเรียน จำนวน 20 คนเครื่อง

มือที่ใช้ในการวิจัย  1. แผนการจัดกิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์ด้วยขนมอบ  2. แบบทดสอบทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์


การเก็บรวบรวมข้อมูล    
การวิจัยในครั้งนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลอง (Quasi Experimental Research) ผู้วิจัยได้ดำเนินการ
ทดลองตามแบบแผนการวิจัย One-Group Pretest Posttest Design (ล้วน สายยศ ; และ อังคณาสายยศ. 2538: 249)

การดำเนินการทดลอง      1. ขอความร่วมมือกับผู้บริหารโรงเรียนในการทำวิจัย      2. ทำการทดสอบก่อนการทดลองกับนักเรียนกลุ่มทดลอง ด้วยแบบทดสอบทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์      3. ดำเนินการทดลองกับกลุ่มทดลอง โดยให้นักเรียนทำกิจกรรมศิลปสร้างสรรค์ด้วยขนมอบกลุ่มละ 5 คน จำนวน 4 กลุ่ม เป็นเวลา 8 สัปดาห์ สัปดาห์ละ 3 วัน วันละ 20 นาที ระหว่างเวลา10.00 – 10.20 . รวมทั้งสิ้น 24 ครั้ง จำนวน 24 กิจกรรม

การวิเคราะห์ข้อมูล   1. หาสถิติพื้นฐาน ได้แก่ ค่าคะแนนเฉลี่ย และค่าความเบี่ยงเบนมาตรฐาน2. เปรียบเทียบความแตกต่างของคะแนนการทดสอบทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ก่อนและหลังการทดลอง โดยใช้สูตร t-test for Dependent Samples (ล้วน สายยศ ; และ อังคณา สายยศ.
2538: 104)

สรุปผลการวิจัยทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ทั้งโดยรวมและรายด้านของเด็กปฐมวัยหลังการทดลองสูงกว่าก่อนการทดลองทำกิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์ด้วยขนมอบอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01

ข้อเสนอแนะ  1. ครูควรมีบทบาทในการดูแลให้ความช่วยเหลือ ให้คำแนะนำเมื่อเด็กต้องการ กระตุ้นให้เด็กโดยให้เด็กได้ทดลองทำตามความคิดของตนเอง ให้แรงเสริม กล่าวคำชมเชยในผลงานของเด็ก ทำให้เด็กมีความมั่นใจ และตั้งใจในการทำกิจกรรม2. ในการเตรียมกิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์ด้วยขนมอบนั้น ควรเตรียมครีมใส่กรวยเมื่อใกล้จะทำกิจกรรม เพราะว่า ถ้าใส่ทิ้งไว้นานจะทำให้น้ำมันในครีมละลายซึมออกมานอกกรวย ทำให้เด็กไม่กล้าหยิบกรวยและกรวยที่ใส่ครีมแต่งหน้าเค้กควรมีขนาดที่พอเหมาะกับมือของเด็ก เพื่อสะดวกกับเด็กในการบีบครีมทำกิจกรรมประชากรที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ เป็นเด็กปฐมวัย ชายหญิง ที่มีอายุ 3 – 4 ปี ซึ่งกำลังศึกษาอยู่ในชั้นอนุบาลปีที่ 1 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2551 ของโรงเรียนอนุบาลกุ๊กไก่ สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาเอกชน เขตคลองเตย กรุงเทพมหานคร ซึ่งมีจำนวน 4 ห้องเรียน จำนวน 81 คน3. ก่อนที่จะทำกิจกรรมครูควรแนะนำให้เด็กรักษาความสะอาด ถ้าครีมแต่งหน้าเค้กเลอะมือหรือเสื้อผ้า ควรใช้กระดาษทิชชูเช็ดออกก่อนแล้วนำไปล้างด้วยน้ำสบู่










งานวิจัยเรื่อง
: การพัฒนาทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัยโดยใช้รูปแบบกิจกรรมศิลปะ
สร้างสรรค์เพื่อการเรียนรู้การศึกษาระดับ:   บัณฑิตมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ

ผู้วิจัย:  คมขวัญ อ่อนบึงพร้าว 


บทนำ

ความเป็นมาและความสำคัญ
การศึกษารูปแบบศิลปะสร้างสรรค์เพื่อการเรียนรู้ พบว่าศิลปะเปลี่ยนแบบ ศิลปะบูรณาการ และศิลปะค้นหา สามารถนำมาใช้ในการพัฒนาทักษะคณิตศาสตร์ได้ การใช้ศิลปะ เช่นภาพวาดหรือผลผลิตจากงานศิลปะมาให้เด็กค้นคว้าค้นหาความรู้จากงานศิลปะ ที่นำมากระตุ้นให้เกิดการเรียนรู้ ซึ่งแต่ละแบบของศิลปะเด็กจะต้องใช้พื้นฐานทักษะทางคณิตศาสตร์ไปด้วยเสมอ เช่นการเปรียบเทียบ การจำแนก การสังเกต การบอกตำแหน่ง การนับ การรู้ค่ารู้จำนวน หรือแม้แต่การเพิ่มการลดจำนวน ดังนั้นเห็นว่าควรนำไปทดลองใช้เพื่อศึกษาดูว่าเด็กสามารถพัฒนาทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัยใช้ได้จริงหรือไม่และผลการวิจัยที่ได้รับ การจัดกิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์เพื่อการเรียนรู้เป็นอย่างไร จะเป็นแนวทางของการใช้นวัตกรรมเพื่อการจัดการเรียนการสอนของเด็กปฐมวัยมาใช้ ในการพัฒนาทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัยหรืออาจนำไปประยุกต์ในกับการพัฒนาทักษะอื่นๆได้

ความมุ่งหมายของการวิจัยเพื่อเปรียบเทียบทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัยก่อนและหลังได้รับการจัดกิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์เพื่อการเรียนรู้

ความสำคัญของการวิจัยการวิจัยครั้งนี้เป็นแนวทางของการใช้นวัตกรรม การเรียนการสอนด้วยกระบวนวิธีของศิลปะรูปแบบต่างๆ มาประยุกต์เพื่อพัฒนาทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ให้กับเด็กปฐมวัยซึ่งผลการวิจัยจะเป็นแนวทางให้กับครู และผู้ที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาเด็ก ได้พัฒนารูปแบบการจัดประสบการณ์ใหม่ๆ ให้กับเด็กปฐมวัย เพื่อส่งเสริมพัฒนาการของเด็กปฐมวัยและเกิดความหลากหลายในวิชาการศึกษาสำหรับครูมากขึ้น 


ขอบเขตของงานวิจัยตัวแปรที่ศึกษา
1. ตัวแปรอิสระ ได้แก่ รูปแบบกิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์เพื่อการเรียนรู้

2. ตัวแปรตาม ได้แก่ ทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ 5 ด้าน


นิยามศัพท์เฉพาะ
 1. เด็กปฐมวัย หมายถึง เด็กที่มีอายุระหว่าง 4–5 ปี ที่กำลังศึกษาอยู่ในชั้นอนุบาลปีที่ 2ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2551 ส่วนการศึกษาอนุบาลโรงเรียนไผทอุดมศึกษา กรุงเทพมหานครสำนักบริหารงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน เขตพื้นที่การศึกษาที่2

2. ทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ หมายถึง ความสามารถของเด็กปฐมวัยในการสังเกตเปรียบเทียบ สี ขนาด จำแนกในรูปร่าง ขนาด การจัดหมวดหมู่ การเรียงลำดับเหตุการณ์ก่อนหลังและการรู้ค่าจำนวน

สมมติฐานของการวิจัยเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดรูปแบบกิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์เพื่อการเรียนรู้ มีการพัฒนาทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ก่อนและหลังการทดลองแตกต่างกัน 




บทที่3

วิธีการดำเนินงาน
     
  การกำหนดประชากรและกลุ่มตัวอย่างประชากรประชากรที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ เป็นนักเรียนชายหญิง อายุระหว่าง 5 – 6 ปี ซึ่งกำลังศึกษาอยู่ชั้นอนุบาลปีที  3 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2549 โรงเรียนสาธิตอนุบาลลอออุทิศ กรุงเทพมหานคร สังกัดมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต จำนวน 10 ห้องเรียน

กลุ่มตัวอย่าง   กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ คือ เป็นนักเรียนชายหญิง อายุระหว่าง 5 – 6 ปีซึ่งกำลังศึกษาอยู่ในชั้นอนุบาลปีที่ 3 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2549 โรงเรียนสาธิตอนุบาลละอออุทิศ กรุงเทพมหานคร สังกัดมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต ซึ่งได้จากการจับฉลากมา 1 ห้องเรียนและได้รับการประเมินทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์โดยใช้แบบทดสอบที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น โดยคัดเลือกเด็กที่มีคะแนะทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ใน 15 อันดับสุดท้ายกำหนดเป็นกลุ่มทดลอง  เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย1. แผนการจัดกิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์เพื่อการเรียนรู้2.แบบทดสอบทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์การสร้างแผนการจัดกิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์เพื่อการเรียนรู้

การเก็บรวบรวมข้อมูล1. ผู้วิจัยทำการทดสอบทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัย (Pretest)ก่อนการทดลอง2. ผู้วิจัยดำเนินการทดลองในกิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์เพื่อการเรียนรู้ ใช้เวลาทดลองครบ 8 สัปดาห์ ผู้วิจัยทำการทดสอบทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัย (Pretest) หลังเสร็จสิ้นการทดลอง เพื่อเปรียบเทียบการพัฒนาทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัย การ

วิเคราะห์ข้อมูล1.หาค่าเฉลี่ยและค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน2. เปรียบเทียบความแตกต่างของคะแนนเฉลี่ยก่อน และหลังการจัดกิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์เพื่อการเรียนรู้ เพื่อศึกษาพัฒนาการทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัยโดยใช้ค่าแจกแจง แบบ Dependent Samples


สรุปผลการวิจัย1. เด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดกิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์มีคะแนนเฉลี่ย ทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ โดยรวม 5 ทักษะและจำแนกรายทักษะ คือ ทักษะการบอกตำแหน่ง ทักษะการจำแนก ทักษะการนับ 1 – 30 ทักษะการรู้ค่ารู้จำนวน และทักษะการเพิ่มลด ภายในจำนวน1 – 10 อยู่ในระดับดี แตกต่างจากก่อนทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 และมีค่าเฉลี่ยสูงขึ้น2. เด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดกิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์ มีพัฒนาการทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ในทุกทักษะสูงขึ้นกว่าก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
 

ข้อเสนอแนะ  1. ควรมีการศึกษาการนำกิจกรรมรูปแบบศิลปะสร้างสรรค์เพื่อการเรียนรู้ ในรูปแบบอื่นมาจัดกิจกรรมให้เด็กเพื่อพัฒนาทักษะต่าง ๆ วิทยาศาสตร์ สังคม ภาษาไทย ฯลฯ ที่แตกต่างกันไปตามรูปแบบการเรียนรู้ เช่น ศิลปะย้ำ ศิลปะปรับภาพ ศิลปะถ่ายโยง ศิลปะเปลี่ยนแบบศิลปะบูรณาการ และศิลปะค้นหา เพื่อศึกษาความแตกต่าง2. ควรมีการนำรูปแบบกิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์ มาจัดกิจกรรมเพื่อพัฒนาความคิดสร้างสรรค์ของเด็กหญิงและเด็กชาย เพื่อหาความแตกต่างในการใช้รูปแบบกิจกรรมศิลปะแบบเดียวกัน3. ควรมีการศึกษาความแตกต่างในการทำกิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์ระหว่างสื่อของจริงและสื่อจำลอง และเปรียบเทียบความภูมิใจของเด็กในตนเองของเด็กปฐมวัยในการทำศิลปะเพื่อการเรียนรู้4. ควรศึกษาเปรียบเทียบระหว่างรูปแบบศิลปะสร้างสรรค์เพื่อการเรียนรู้แต่ละรูปแบบว่าแบบใดพัฒนาทักษะได้มากกว่ากัน5. ควรศึกษาเปรียบเทียบการจัดกิจกรรมรูปแบบศิลปะสร้างสรรค์เพื่อการเรียนรู้แบบกลุ่ม และรายบุคคลว่ามีความแตกต่างกันอย่างไร 




 
   

วันจันทร์ที่ 25 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556


เจาะลึก....เด็กปฐมวัยเรียนรู้อะไรในคณิตศาสตร์

    

         คณิตศาสตร์มีความสำคัญยิ่งต่อการพัฒนาความคิด ทำให้มนุษย์คิดอย่างมีเหตุผล เป็นระบบ มีแบบแผน ตลอดจนมีการพัฒนาความคิดสร้างสรรค์และสามารถวิเคราะห์ปัญหาหรือสถานการณ์ได้อย่างรอบคอบ ช่วยให้คาดการณ์วางแผน แก้ปัญหา และนำไปใช้ในชีวิตประจำวันได้อย่างเหมาะสมนอกจากนั้นคณิตศาสตร์ยังเป็นเครื่องมือในการศึกษาด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและศาสตร์อื่น ๆเด็กปฐมวัย เป็นวัยเริ่มต้นแห่งการเรียนรู้ มีความอยากรู้อยากเห็น ช่างสังเกต ชอบเล่น และสำรวจสิ่งต่างๆรอบตัว คณิตศาสตร์สามารถพัฒนาเสริมสร้างให้เด็กมีความรู้ความเข้าใจในธรรมชาติและสิ่งต่างๆ รอบตัว การที่เด็กมีความรู้ความเข้าใจ มีทักษะกระบวนการทางคณิตศาสตร์ และมีเจตคติที่ดีต่อคณิตศาสตร์ ไม่เพียงส่งผลให้เด็กประสบความสำเร็จในการเรียนรู้ทางคณิตศาสตร์เท่านั้น แต่จะส่งผลต่อการเรียนรู้ในศาสตร์อื่น ๆ คณิตศาสตร์จึงมีบทบาทสำคัญทั้งในการเรียนรู้และมีประโยชน์ต่อการดำเนินชีวิต
      สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.) ได้พัฒนากรอบมาตรฐานการเรียนรู้คณิตศาสตร์ปฐมวัย ตามหลักสูตรการศึกษาปฐมวัย พุทธศักราช 2546 ตั้งแต่ปี 2551 โดยคณะกรรมการซึ่งประกอบด้วย ผู้ทรงคุณวุฒิ นักวิชาการศึกษา ศึกษานิเทศก์ ผู้บริหารสถานศึกษาและครูผู้สอน ได้ร่วมกำหนดมาตรฐานการเรียนรู้ ตัวชี้วัด และสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ปฐมวัย อายุ 3 – 5 ปี เพื่อเป็นแนวทางให้สถานศึกษาหรือสถานพัฒนาเด็กปฐมวัยทุกสังกัดนำไปใช้จัดการศึกษาด้านคณิตศาสตร์ ได้อย่างถูกต้องเหมาะสม

      เด็กปฐมวัยเรียนรู้อะไรในคณิตศาสตร์      การเรียนรู้คณิตศาสตร์ระดับปฐมวัย มุ่งหวังให้เด็กทุกคนได้เตรียมความพร้อมด้านต่าง ๆ ทางคณิตศาสตร์อันเป็นพื้นฐานในการเรียนรู้คณิตศาสตร์ระดับประถมศึกษา โดยกำหนดสาระหลักที่จำเป็นสำหรับเด็ก ได้แก่
จำนวนและการดำเนินการ จำนวน การรวมกลุ่ม และการแยกกลุ่ม การวัด ความยาว น้ำหนัก ปริมาตร เงินและเวลา เรขาคณิต ตำแหน่ง ทิศทาง ระยะทาง รูปเรขาคณิตสามมิติและรูปเรขาคณิตสองมิติ พีชคณิต แบบรูปและความสัมพันธ์ การวิเคราะห์ข้อมูลและความน่าจะเป็น การเก็บรวบรวมข้อมูลและการนำเสนอ ทักษะและกระบวนการทางคณิตศาสตร์ การแก้ปัญหา การให้เหตุผล การสื่อสาร การสื่อความหมายทางคณิตศาสตร์และการนำเสนอ การเชื่อมโยงความรู้ต่างๆ ทางคณิตศาสตร์ และเชื่อมโยงคณิตศาสตร์กับศาสตร์อื่นๆ และมีความคิดสร้างสรรค์
      สาระและมาตรฐานการเรียนรู้คณิตศาสตร์ปฐมวัย      มาตรฐานการเรียนรู้ เป็นเป้าหมายสำคัญในการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ให้กับเด็ก รวมทั้งเป็นแนวทางในการกำกับ ตรวจสอบ และประเมินผล มาตรฐานการเรียนรู้จัดให้อยู่ภายใต้สาระหลัก ดังนี้
      สาระที่ 1 : จำนวนและการดำเนินการ มาตรฐาน ค.ป. 1.1 : เข้าใจถึงความหลากหลายของการแสดงจำนวน และการใช้จำนวนในชีวิตจริง
      สาระที่ 2 : การวัด มาตรฐาน ค.ป. 2.1 : เข้าใจพื้นฐานเกี่ยวกับการวัด ความยาว น้ำหนัก ปริมาตร เงินและเวลา
      สาระที่ 3 : เรขาคณิต มาตรฐาน ค.ป. 3.1 : รู้จักใช้คำในการบอกตำแหน่ง ทิศทาง และระยะทาง มาตรฐาน ค.ป. 3.2 : รู้จัก จำแนกรูปเรขาคณิต และเข้าใจการเปลี่ยนแปลงรูปเรขาคณิตที่เกิดจากการจัดกระทำ
      สาระที่ 4 : พีชคณิต มาตรฐาน ค.ป. 4.1 : เข้าใจแบบรูปและความสัมพันธ์
      สาระที่ 5 : การวิเคราะห์ข้อมูลและความน่าจะเป็น มาตรฐาน ค.ป. 5.1 : รวบรวมข้อมูลที่เกี่ยวกับตนเองและสิ่งแวดล้อม และนำเสนอ
      สาระที่ 6 : ทักษะกระบวนการทางคณิตศาสตร์ การจัดประสบการณ์การเรียนรู้ ครูควรคอยสอดแทรกทักษะและกระบวนการทางคณิตศาสตร์ตามความเหมาะสมกับระดับอายุ
      นางเชอรี่ อยู่ดี หัวหน้าสาขาคณิตศาสตร์ประถมศึกษา สสวท. ประธานคณะกรรมการกำหนดแนวทางการจัดทำคู่มือกรอบมาตรฐานการเรียนรู้คณิตศาสตร์ปฐมวัย ตามหลักสูตรการศึกษาปฐมวัย พุทธศักราช 2546 ได้กล่าวถึงปัจจัยสำคัญของการจัดประสบการณ์การเรียนรู้คณิตศาสตร์ว่า “ปัจจัยสำคัญที่ทำให้การจัดประสบการณ์เรียนรู้คณิตศาสตร์บรรลุมาตรฐานการเรียนรู้มี 4 ประการ ได้แก่ ผู้บริหาร ซึ่งมีบทบาทในการจัดสรรงประมาณ จัดหาสื่ออุปกรณ์ที่ใช้ในการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ให้เพียงพอ การบริหารประสานงาน วางแผนกำกับดูแล สร้างขวัญกำลังใจครูผู้สอน ส่งเสริมความสามารถของเด็กทุกด้าน วางนโยบายการนิเทศภายในให้ชัดเจน และประเมินผลการปฏิบัติงานของครูผู้สอนรอบด้านอย่างยุติธรรม ครูผู้สอน ซึ่งควรจะมีการพัฒนาความรู้ จัดกิจกรรมหลากหลาย มีจรรยาบรรณในวิชาชีพครู เด็ก ต้องมีความสนใจใฝ่รู้ ช่างสังเกตซักถาม คาดเดา อธิบายเหตุผลของตนเอง สภาพแวดล้อม หรือความพร้อมของสถานศึกษา ห้องเรียน นอกจาก 4 ปัจจัยดังกล่าวแล้วยังต้องการบทบาทการสนับสนุนจากผู้ปกครองด้วย”
      คุณภาพทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัย ในแต่ละช่วงอายุ มีความซับซ้อนแตกต่างกัน ดังนี้      คุณภาพทางคณิตศาสตร์ของเด็กอายุ 3 ปี ควรมีความสามารถดังนี้ 1) มีความรู้ ความเข้าใจและมีพัฒนาการด้านความรู้สึกเชิงจำนวน เกี่ยวกับจำนวนนับไม่เกินห้า และเข้าใจเกี่ยวกับการรวมกลุ่ม และการแยกกลุ่ม 2) มีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับความยาว น้ำหนัก ปริมาตร และเวลา สามารถเปรียบเทียบ และใช้คำเกี่ยวกับการเปรียบเทียบความยาว น้ำหนัก และปริมาตร และเวลา สามารถเปรียบเทียบ และใช้คำเกี่ยวกับการเปรียบเทียบความยาว น้ำหนัก และปริมาตร สามารถบอกกิจกรรมหรือเหตุการณ์ในชีวิตประจำวันที่เกิดขึ้นในช่วงเวลากลางวันและกลางคืน 3) มีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับตำแหน่ง สามารถใช้คำบอกตำแหน่งของสิ่งต่าง ๆรู้จักทรงกลม ทรงสี่เหลี่ยมมุมฉากจากสิ่งต่างๆ ในชีวิตประจำวัน และใช้ทรงกลม ทรงสี่เหลี่ยมมุมฉาก สร้างสรรค์งานศิลปะ
       คุณภาพทางคณิตศาสตร์ของเด็กอายุ 4 ปี ควรมีความสามารถดังนี้ 1) มีความรู้ ความเข้าใจและมีพัฒนาการด้านความรู้สึกเชิงจำนวน เกี่ยวกับจำนวนนับไม่เกินสิบ และเข้าใจเกี่ยวกับการรวมกลุ่ม และการแยกกลุ่ม 2) มีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับความยาว น้ำหนัก ปริมาตร และเวลา สามารถเรียงลำดับความยาวน้ำหนัก ปริมาตร และเวลา สามารถบอกกิจกรรมหรือเหตุการณ์ในชีวิตประจำวันที่เกิดขึ้นในช่วงเวลาเช้า เที่ยง เย็น และเรียงลำดับกิจกรรม หรือเหตุการณ์ในชีวิตประจำวันตามช่วงเวลา 3) มีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับตำแหน่ง สามารถใช้คำบอกตำแหน่งและแสดงของสิ่งต่าง ๆ สามารถจำแนกทรงกลม ทรงสี่เหลี่ยมมุมฉาก และใช้ทรงกลม ทรงสี่เหลี่ยมมุมฉาก กรวย ทรงกระบอกสร้างสรรค์งานศิลปะ 4) มีความรู้ ความเข้าใจ แบบรูปของรูปที่มีรูปร่าง ขนาด สี ที่สัมพันธ์กันอย่างใดอย่างหนึ่ง สามารถทำตามแบบรูปที่กำหนด

       คุณภาพทางคณิตศาสตร์ของเด็กอายุ 5 ปี ควรมีความสามารถดังนี้ 1) มีความรู้ ความเข้าใจและมีพัฒนาการด้านความรู้สึกเชิงจำนวน เกี่ยวกับจำนวนนับไม่เกินยี่สิบ และเข้าใจเกี่ยวกับการรวมกลุ่ม และการแยกกลุ่ม 2) มีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับความยาว น้ำหนัก ปริมาตร เวลา และเงิน สามารถวัดและบอกความยาวน้ำหนัก และปริมาตร โดยใช้เครื่องมือและหน่วยที่ไม่ใช่หน่วยมาตรฐาน สามารถเรียงลำดับเรียงลำดับชื่อวันในหนึ่งสัปดาห์และบอกกิจกรรมหรือเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น เมื่อวานนี้ วันนี้ พรุ่งนี้ เข้าใจเกี่ยวกับเงิน สามารถบอกชนิดและค่าของเงินเหรียญและธนบัตร 3) มีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับตำแหน่ง ทิศทางและระยะทาง สามารถใช้คำบอกตำแหน่ง ทิศทาง และระยะทาง และแสดงตำแหน่ง ทิศทาง และระยะทางของสิ่งต่าง ๆ สามารถจำแนกทรงกลมทรงสี่เหลี่ยมมุมฉาก กรวย ทรงกระบอก และจำแนกรูปวงกลม รูปสามเหลี่ยม รูปสี่เหลี่ยม สามารถอธิบายการเปลี่ยนแปลงรูปเรขาคณิตสองมิติที่เกิดจากการตัด ต่อเติม พับ หรือคลี่ และสร้างสรรค์งานศิลปะจากรูปเรขาคณิตสามมิติและสองมิติ 4) มีความรู้ ความเข้าใจ แบบรูปของรูปที่มีรูปร่าง ขนาด สี ที่สัมพันธ์กันอย่างใดอย่างหนึ่งสามารถต่อแบบรูปที่กำหนดและสร้างเพิ่มเติม 5) มีส่วนร่วมในการให้ข้อมูลและการนำเสนอข้อมูลในรูปแผนภูมิอย่างง่าย
       การจัดประสบการณ์การเรียนรู้คณิตศาสตร์ของเด็ก ต้องคำนึงถึงขั้นตอนการเรียนรู้ของเด็ก ได้แก่ ทบทวบความรู้พื้นฐาน สอนเนื้อหาใหม่ สรุปสาระสำคัญทางคณิตศาสตร์ ฝึกทักษะหรือฝึกปฏิบัติ นำความรู้ไปใช้ วัดและประเมินผล ตัวอย่างรูปแบบของการจัดประสบการณ์การเรียนรู้คณิตศาสตร์ระดับปฐมวัยที่น่าสนใจ อาทิ การเรียนรู้จากการปฏิบัติจริง การเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ การเรียนรู้จากการใช้คำถาม เป็นต้น

       “ครูผู้สอนจำเป็นต้องศึกษาและทำความเข้าใจ เกี่ยวกับมาตรฐานการเรียนรู้ ตัวชี้วัด สาระการเรียนรู้และสาระสำคัญทางคณิตศาสตร์ ในการจัดประสบการณ์การเรียนรู้สำหรับเด็กปฐมวัย ครูต้องยึดเด็กเป็นสำคัญ กล่าวคือ การเรียนรู้โดยให้เด็กมีส่วนร่วมรู้ ร่วมคิด ร่วมทำ ควรคำนึงถึงความสนใจและความแตกต่างของเด็กแต่ละคน การจัดประสบการณ์การเรียนรู้จึงควรหลากหลาย อาจจัดให้ทำกิจกรรมร่วมกันทั้งชั้น ทำในกลุ่มย่อย ทำเป็นรายบุคคล สถานที่ควรมีทั้งในห้องเรียน นอกห้องเรียน บริเวณโรงเรียน และศึกษาจากแหล่งเรียนรู้ในชุมชนหรือในท้องถิ่น” นางเชอรี่ อยู่ดี กล่าว

        นอกจากนั้น เทคนิคการจูงใจให้เด็กๆ สนุกกับการเรียนคณิตศาสตร์อีกอย่าง คือ ให้เด็กได้เรียนรู้และค้นพบสิ่งท้าทาย ด้วยกิจกรรมและเกมที่ช่วยฝึกทักษะคณิตศาสตร์ให้เด็กได้ร่วมสนุกพร้อมสอดแทรกเนื้อหาความรู้เข้าไป
        ทั้งนี้ สสวท. ได้จัดทำแผนการจัดประสบการณ์การเรียนรู้คณิตศาสตร์ปฐมวัย ตามสาระ มาตรฐานและตัวชี้วัด รวมทั้งตัวอย่างกิจกรรมไว้อย่างละเอียดและชัดเจน เพื่อให้ครูและผู้เกี่ยวข้องใช้เป็นแนวทางจัดประสบการณ์การเรียนรู้คณิตศาสตร์ปฐมวัย ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งสอดคล้องกับกรอบมาตรฐานการเรียนรู้คณิตศาสตร์ปฐมวัย ตามหลักสูตรการศึกษาปฐมวัย พุทธศักราช 2546 และสามารถเชื่อมต่อกับสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ของหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช2551

แหล่งเรียนรู้  http://www.ipst.ac.th