เข้าเรียนครั้งที่ 1
วันที่ 2 เดือน พฤศจิกายน พ.ศ. 2555
การเรียน การสอน
การเรียน การสอน
-อาจารย์เเจกกระดาษให้ตัวเองเช็คชื่อ ด้วยตัวเอง
-อาจารย์ให้เเจกกระดาษคนละแผ่นในชั้นเรียน
-จากนั้นอาจารย์ก็ให้ทุกคนเเสดงความคิดเห็นว่าวิชาที่เคยเรียนในภาคเรียนที่เเล้วคือวิชาการจัดประสบการณ์ทางภาษาสำหรับเด็กปฐมวัยกับวิชาการจัดประสบการณ์คณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัยมีความเเต่งต่างกันอย่างไรบ้าง
จากกระดาษที่อาจารย์เเจก กระดาษให้เขียนงาน 2 ข้อ
1. ให้เขียนความหมายของวิชาการจัดประสบการณ์คณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัยตามความเข้าใจมา 2 ประโยค
2. ให้เขียนสิ่งที่คิดว่าจะได้รับจากการเรียนวิชาการจัดประสบการณ์คณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
- อาจารย์ให้แสดงข้อตกลงกันว่า กลุ่ม102ว่าคาบนี้จะเลิกไปทำบล็อกจะให้อาจารย์ปล่อยก่อน 40 นาทีเพื่อไปทำงานบล็อก หรือว่าเรียนเต็มคาบเพื่อกลับไปทำงานบล็อกที่บ้าน กลุ่ม102 ตกลงกันว่าจะให้อาจารย์ปล่อยก่อน 40 นาทีเพื่อไปทำบล็อกของตัวเอง เเละอาจารย์ก็จะตรวจดูความคืบหน้าของบล็อกที่ทำทุกคาบทุกวันเสาร์ 17.00-18.30 น.
ความเข้าใจในห้องเรียน
- สิ่งที่เเตกต่างสำหรับวิชาการจัดประสบการณ์ทางภาษาสำหรับเด็กปฐมวัยกับวิชาการจัดประสบการณ์ คณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัยคือ คำว่า ภาษา เเละคณิตศาสตร์
- เมื่อเราทำอะไรบ่อยๆฟังเเล้วมีการจดบันทึก และติดตาม จะทำให้เราเกิดการเรียนรู้
- พัฒนาการ คือ การเปลี่ยนแปลงที่เป็นลำดับขั้นตอนอย่างต่อเนื่อง
- การเรียนรู้ คือ การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม ที่ดีขึ้นไป
- วุฒิภาวะ คือ ความสามารถในแต่ละช่วงวัย
ฉันทำเองเลยนะ
ทำขึ้นโดย นางสาวกมลวรรณ ศรีสำราญ |
ทฤษฎีพัฒนาการทางสติปัญญาของเพียเจต์
ขั้นประสาทรับรู้และการเคลื่อนไหว (Sensori-Motor
Stage) ขั้นนี้เริ่มตั้งแต่แรกเกิดจนถึง 2 ปี
พฤติกรรมของเด็กในวัยนี้ขึ้นอยู่กับการเคลื่อนไหวเป็นส่วนใหญ่ เช่น
การไขว่คว้า การเคลื่อนไหว การมอง
การดู
ในวัยนี้เด็กแสดงออกทางด้านร่างกายให้เห็นว่ามีสติปัญญาด้วยการกระทำ เด็กสามารถแก้ปัญหาได้ แม้ว่าจะไม่สามารถอธิบายได้ด้วยคำพูด เด็กจะต้องมีโอกาสที่จะปะทะกับสิ่งแวดล้อมด้วยตนเอง
ซึ่งถือว่าเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับพัฒนาการด้านสติปัญญาและความคิดในขั้นนี้
มีความคิดความเข้าใจของเด็กจะก้าวหน้าอย่างรวดเร็ว เช่น
สามารถประสานงานระหว่างกล้ามเนื้อมือ และสายตา
เด็กในวัยนี้มักจะทำอะไรซ้ำบ่อยๆ
เป็นการเลียนแบบ พยายามแก้ปัญหาแบบลองผิดลองถูก เมื่อสิ้นสุดระยะนี้เด็กจะมีการแสดงออกของพฤติกรรมอย่างมีจุดมุ่งหมายและสามารถแก้ปัญหาโดยการเปลี่ยนวิธีการต่าง ๆ
เพื่อให้ได้สิ่งที่ต้องการแต่กิจกรรมการคิดของเด็กวัยนี้ส่วนใหญ่ยังคงอยู่เฉพาะสิ่งที่สามารถสัมผัสได้เท่านั้น
ทฤษฎีพัฒนาการทางสติปัญญาของบรุนเนอร์
บรุนเนอร์ (Bruner) เป็นนักจิตวิทยาที่สนใจและศึกษาเรื่องของพัฒนาการทางสติปัญญาต่อเนื่องจากเพียเจต์
บรุนเนอร์เชื่อว่ามนุษย์เลือกที่จะรับรู้สิ่งที่ตนเองสนใจและการเรียนรู้เกิดจากกระบวนการค้นพบด้วยตัวเอง (discovery
learning) แนวคิดที่สำคัญ ๆ ของบรุนเนอร์
ทฤษฎีการเรียนรู้
1 การจัดโครงสร้างของความรู้ให้มีความสัมพันธ์
และสอดคล้องกับพัฒนาการทางสติปัญญาของเด็ก มีผลต่อการเรียนรู้ของเด็ก
2 การจัดหลักสูตรและการเรียนการสอนให้เหมาะสมกับระดับความพร้อมของผู้เรียน
และสอดคล้องกับพัฒนาการทางสติปัญญาของผู้เรียนจะช่วยให้การเรียนรู้เกิดประสิทธิ
3 การคิดแบบหยั่งรู้ (intuition)
เป็นการคิดหาเหตุผลอย่างอิสระที่สามารถช่วยพัฒนาความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ได้
4 แรงจูงใจภายในเป็นปัจจัยสำคัญที่จะช่วยให้ผู้เรียนประสบผลสำเร็จในการเรียนรู้
5 ทฤษฎีพัฒนาการทางสติปัญญาของมนุษย์แบ่งได้เป็น 3 ขั้นใหญ่ ๆ คือ
5.1 ขั้นการเรียนรู้จากการกระทำ (Enactive Stage) คือ
ขั้นของการเรียนรู้จากการใช้ประสาทสัมผัสรับรู้สิ่งต่าง ๆ
การลงมือกระทำช่วยให้เด็กเกิดการเรียนรู้ดี การเรียนรู้เกิดจากการกระทำ
5.2 ขั้นการเรียนรู้จากความคิด (Iconic Stage)
เป็นขั้นที่เด็กสามารถสร้างมโนภาพในใจได้ และสามารถเรียนรู้จากภาพแทนของจริงได้
5.3 ขั้นการเรียนรู้สัญลักษณ์และนามธรรม (Symbolic Stage)
เป็นขั้นการเรียนรู้สิ่งที่ซับซ้อนและเป็นนามธรรมได้
6 การเรียนรู้เกิดขึ้นได้จากการที่คนเราสามารถสร้างความคิดรวบยอด
หรือสามารถจัดประเภทของสิ่งต่าง ๆ ได้อย่างเหมาะสม7)
การเรียนรู้ที่ได้ผลดีที่สุด คือ การให้ผู้เรียนค้นพบการเรียนรู้ด้วยตนเอง (discovery
learning)
Casino Near Me - MapYRO
ตอบลบWelcome to the best place to find out where to play & stay 속초 출장안마 in 청주 출장안마 San Diego! With 1 서귀포 출장샵 casino floor and over 동두천 출장안마 1,600 slot machines and 107 table games, you're sure 통영 출장안마 to